แผนผังแสดงวิปัสสนาภูมิ 6

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

แผนผังแสดงวิปัสสนาภูมิ 6

Post by Nadda »

แผนผังแสดงวิปัสสนาภูมิ 6

วิปัสสนาภูมิ 6 คืออะไร

1) ขันธ์ 5 คือ กองทั้ง 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

2) อายตนะ 12 คือสะพานเครื่องเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ มี 12 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)

3) ธาตุ 18 คือ สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มี 18 (จักขุธาตุ โสตะธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กาย-ธาตุ มโนธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันทะธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุจักษุวิญญาณธาตุ โสตะวิญญาณธาตุ ฆานะวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุกายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ)

4) อินทรีย์ 22 คือ ความเป็นใหญ่ มี 22 (จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหิน-ทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัททินทรีย์วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์)

5) อริยสัจจะ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ มี 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

6) ปฏิจจสมุปบาท 12 คือ ความประชุมพร้อมด้วยเหตุผล มี 12 (อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูปสฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมะนัส สุปายาส)


1. ขันธ์ มี 5 คือ

1) รูปขันธ์ กองรูป องค์ธรรม ได้แก่ รูป 28

2) เวทนาขันธ์ กองเวทนา องค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

3) สัญญาขันธ์ กองสัญญา องค์ธรรม ได้แก่ สัญญาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

4) สังขารขันธ์ กองสังขาร องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก 50 (เว้นเวทนา, สัญญา) ที่ในจิต 89 หรือ 121 ตามสมควร

5) วิญญานขันธ์ กองจิต องค์ธรรม ได้แก่ จิต 89 หรือ 121


2. อายตนะ มี 12 คือ

1) จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

2) โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานายตนะ ฆานะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายายตนะ กายะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท

6) รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ

7) สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

8) คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

9) รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ

10) โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

11) มนายตนะ จิต ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

12) ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


3. ธาตุ มี 18 คือ

1) จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ จักขุประสาท

2) โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานธาตุ ฆานะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหาธาตุ ชิวหา ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รสารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายธาตุ กายะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

6) รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับจักขุปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ สีต่างๆ

7) สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

8) คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับฆานปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

9) รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับชิวหาปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ รสต่างๆ

10) โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับกายปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

11) จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราทรงไว้ซึ่งการเห็นองค์ธรรม ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต 2

12) โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ ทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต 2

13) ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่นองค์ธรรม ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต 2

14) ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รสองค์ธรรมิ ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต 2

15) กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัสองค์ธรรม ได้แก่ กายวิญญาณจิต 2

16) มโนธาตุ จิต 3 ดวง ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 สัมปฏิจฉันจิต 2

17) มโนวิญญาณธาตุ จิต 76 ดวง ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษองค์ธรรมได้แก่ จิต 76 (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต 10 มโนธาตุ 3)

18) ธัมมธาตุ สถาพธรรม 69 ชื่อว่าธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


4. อินทรีย์ มี 22 คือ

1) จักขุนทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเห็นองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

2) โสตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการได้ยินองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้กลิ่นองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้รสองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการสัมผัสองค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

6) อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิงองค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป

7) ปุริสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นชายองค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป

8) ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปและนามองค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป และชีวิตินทรีย์เจตสิก

9) มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

10 ) สุขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต 1

11) ทุกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์กายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตกายวิญญาณจิต 1

12) โสมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสหคตจิต 62

13) โทมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์ใจองค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต 2

14) อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลาง องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในอุเบกขาสหคตจิต 55

15) สัทธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อองค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิกที่ในโสภณจิต 91

16) วิริยินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเพียรองค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในวิริยสัมปยุตตจิต 105

17) สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในโสภณเจตสิก 91

18) สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียวองค์ธรรมได้แก่ เอกัตคตาเจตสิกที่ในจิต 72 (เว้นอวิริยจิต 16 วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต 1)

19) ปัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริงองค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในญาณสัมปยุตตจิต 47 หรือ 79

20) อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนไม่เคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในโสดาปัตติมรรคจิต 1

21) อัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนเคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมรรคจิตเบื้องบน 3 และผลจิตเบื้องต่ำ 3

22 ) อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 สิ้นสุดแล้วองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตผลจิต 1


5. อริยสัจจะ มี 4 คือ

1) ทุกขสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต 81, เจตสิก 51 (เว้น โลภะ), รูป 28

2) สมุทยสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก

3) นิโรธสัจจะ ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ นิพพาน

4) มรรคสัจจะ หนทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ มัคคังคเจตสิก 8 ดวง มีปัญญาเจตสิก เป็นต้น ที่ในมรรคจิต 4


6. ปฏิจจสมุปบาท 12

1) อวิชชา ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญาคือ การไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงที่ควรรู้ ได้แก่ โมหเจตสิก

2) สังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล

3) วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นพิเศษ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ คือปฏิสนธิจิต 19 และปวัตติวิญญาณ คือ โลกิยวิปากจิต 32

4) นามรูป ธรรมชาติที่น้อมไปในอารมณ์ ชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิก 35 ที่ประกอบกับ โลกิยวิบากจิต 32 ธรรมชาติที่สลายไป เพราะปัจจัยเป็นปฏิปักษ์ ชื่อว่า รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป, จิตตชรูป

5) สฬายตนะ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ได้แก่ อัชฌัติกายตนะ 6

6) ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกิยวิบากจิต 32

7) เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา 6 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น

8) ตัณหา ธรรมชาติที่ติดใจซึ่งวัตถุกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต 8

9) อุปาทาน ธรรมชาติที่เข้าไปยึดมั่น ได้แก่ ตัณหาและทิฏฐิที่มีกำลังมาก

10) ภวะ (กัมมภวะ,อุปัตติภวะ) ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น ชื่อว่า กัมมภาวะ ได้แก่ อกุศลเจตนา 12 โลกิยกุศลเจตนา 17 ธรรมชาติที่เข้าไปเกิดในภพใหม่ด้วย ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกรรมด้วย ชื่อว่า อุปัตติภวะ ได้แก่ โลกิยวิปากจิต 32 เจตสิก 35, กัมมชรูป 20

11) ชาติ ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมได้แก่ปฏิสนธิชาติ (การเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่)

12) ชรา มรณะ และ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

ชรา ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ 4 และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา

มรณะ ความตาย คืออาการที่กำลังดับของ โลกิยวิบาก และกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ โสกะ ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับ โทสมูลจิต 2 ซึ่งเกิดจากพยสนะ 5 อย่าง

ปริเทวะ การร้องไห้รำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้นโดยมีการร้องไห้รำพัน เพราะอาศัยพยสนะ 5 อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ ทุกขะ เวทนาที่อดทนได้ยาก ชื่อว่า

ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา
โทมนัส สภาพที่เป็นเหตุให้เป็นผู้มีใจคอไม่ดี ได้แก่ เจตสิกทุกข์คือ ทุกข์ใจ
อุปายาส ความลำบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง

อ้างอิง http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7063
Post Reply