หลวงพี่โต้ง+หลวงพี่สังคม ยอดพระนักคิด นักพัฒนา แห่งวัดพระธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

หลวงพี่โต้ง+หลวงพี่สังคม ยอดพระนักคิด นักพัฒนา แห่งวัดพระธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่

Post by Nadda »

txcp0.jpg หลวงพี่โต้ง เล่าให้ฟังว่า เกิดที่กรุงเทพฯ หลังเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปริญญาโทด้านเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยทำงานเวิลด์แบงก์ และสายการบินในอเมริกาอย่างหรูหรา เงินเดือนท่วม สวัสดิการเพียบ ได้ไปท่องเที่ยวหาความสุขมาทั่วทุกทิศแล้ว ขึ้นเครื่องบินฟรี จะไปไหนก็ได้ แต่ไปแล้วก็รู้สึกงั้นๆ แหละ บางทีนั่งเครื่องบินไปไกลแสนไกล หมดเวลาไปหลายชั่วโมง แต่เมื่อท่านลงไปเดินสนามบินแล้ว ก็กลับขึ้นเครื่องบินกลับมาที่เดิมอีก จนกัปตันเครื่องบินงงว่า "มาทำไมอีก"

หลังจากได้ใช้ชีวิตกิน อยู่ และท่องเที่ยวมาเกือบทั่วทุกมุมโลก แต่สิ่งที่ได้มานอกจากความสุขเพียงแค่ได้เห็น ได้กิน และสุดท้ายก็คือ ความว่างเปล่า ไร้สาระ สิ่งที่ท่านค้นหาอยู่ มันไม่ใช่เส้นทางสายนี้ และก็ไม่เข้าใจว่า ตัวตนเองนั้นต้องการสิ่งใดกันแน่หรือ เกิดความสับสนในจิตใจ เกิดความเบื่อหน่าย และเกิดความรู้สึกกังวลว่า อะไรคือสิ่งที่ท่านต้องการ

วันหนึ่ง ไปช่วยพี่ขนย้ายสิ่งของ แล้วมีหนังสือธรรมะเล่มหนึ่งตกอยู่ ก็เก็บเหน็บกระเป๋ากลับมาด้วย แล้วมานั่งอ่าน ระหว่างรอเครื่องบิน จึงได้รู้ว่า เป็นหนังสือของหลวงพ่อชาชื่อ บ้านที่แท้จริง

เมื่อได้อ่านหนังสือ ก็เกิดความศรัทธา และเกิดความอยาก ต้องการที่จะเข้าสู่เส้นทางธรรม ประกอบกับเกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ อเมริกาก็ปลดคนงานออก เห็นคนหอบลูกจูงหลานมาร้องขอทำงานต่อ ดูน่าสังเวช และอยู่มาวันหนึ่ง ได้พบท่านพระอาจารย์ทูล ได้เสวนากันแล้วว่า เกิดมาแล้วไม่มีความสุข

ท่านพระอาจารย์ทูลตอบกลับว่า “แล้วเสือกมาเกิดทำไม” เมื่อเอ่ยวาจาขอบวช ท่านก็ไม่ให้บวช แต่ให้ไปปฏิบัติธรรมก่อนปีครึ่ง จึงบินกลับประเทศไทย ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าบ้านค้อ กับพระอาจารย์ทูล ๓ ปี ในที่สุดก็ได้บวชในประเทศอเมริกา เมื่อพ.ศ.๒๔๔๕ ได้ฉายาว่า “พระสรยุทธ ชยปัญโญ”

"ฉันไม่ได้บวชมาเพื่อสร้าง อยากเห็นการบูรณะพระธาตุเสร็จ ก็มาช่วยกันแล้วกัน ได้แต่บอกกล่าวญาติโยมว่า เราได้แต่ไปไหว้พระธาตุที่คนอื่นสร้างไว้ วันนี้ถ้าเรามาช่วยกันสร้างพระธาตุองค์นี้ให้เสร็จ ก็จะมีพุทธศาสนิกชนคนพุทธมากราบไหว้พระธาตุที่เราร่วมกันสร้างต่อไปอีกนับ พันๆ ปี" นี่เป็นเหตุผลที่หลวงพี่โต้งมาจำพรรษาที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม และเริ่มการบูรณะพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘

วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เป็นพระธาตุที่ครูบาศรีวิชัย และครูบาอุปาละ ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างไว้ราวๆ พ.ศ.๒๔๗๔

หลังจากหลวงพี่โต้งได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาให้ดูสะอาดตา ศรัทธาหลั่งไหลมาไม่ได้ขาด บางคนว่า ฝันถึงแล้วพบในแผ่นพับที่เสียบๆ ไว้ก็เลยขึ้นมา บอกว่าใช่เลย ฝันถึงพระธาตุองค์นี้แหละ บางคนก็เพื่อนชวนมา ตอนนี้การสร้างทั่วไปเสร็จแล้ว เป็นมณฑปจตุรมุข ยกพระธาตุองค์เดิมขึ้นไปไว้ข้างบนอีกชั้นหนึ่ง ได้รับพระราชทานพระบรมธาตุมาจากสมเด็จพระสังฆราช เพื่อนำมาบรรจุไว้ พร้อมกับพระกริ่งพุทธนิมิต ๔,๐๐๐ องค์ เหลือเพียงยอดฉัตรสเตนเลส กำลังแกะสลักอยู่ คงปีหน้าน่าจะได้ยกฉัตรขึ้นประกอบ

"ฉันพัฒนาวัด โดยยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง 'บวร' อันหมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน ฉันได้ก้าวลงจากยอดดอยสูงลงมา เพื่อร่วมกันพัฒนาอาชีพชาวบ้าน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการจมอยู่กับยาสารเคมี มาเป็นใช้ชีวิตร่วมกันกับอินทรียวัตถุ การสร้างสารเร่งจากธรรมชาติ แม้กระทั่งการผลิตน้ำยาล้างจานอินทรีย์ใช้เอง" นี่คือหลักการพัฒนาวัดของหลวงพี่โต้ง

นอกจากพัฒนาวัดแล้ว หลวงพี่โต้งยังได้ดำเนินงานหลัก การจัดการป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์น้ำด้วยฝายแม้ว อันเป็นแนวทางจากพระราชดำริอีกเช่นกัน

งานนี้เหนื่อย เพราะว่าพื้นที่ป่าโดยรอบแล้งเมื่อแล้ง ร้อนเมื่อร้อน และเปียกชุ่มเพียงเมื่อฝนมา น้ำฝนตกลงมาแล้วก็ไหลเลยไปหมด ป่าลักษณะนี้เก็บน้ำไว้ได้ตามฤดูกาล จึงต้องช่วยด้วยฝายไม้กว่าพันฝาย ฝายหินยาปูน (ฝายลูกกรอก) อีกนับหลายร้อย ตั้งแต่ใต้น้ำจนถึงขุนต้นน้ำ โดยเน้นห้วยบนเป็นหลัก แล้วก็ปลูกต้นไม้ป่าเมืองไทยใส่เข้าไปอีกเช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก แหน ประดู่ จันทอง การบูร กฤษณา ฯลฯ

หลวงพี่โต้งได้สร้างฝายกักตะกอนด้วยไม้ไผ่จากวัสดุในป่า กรองกิ่งไม้ หิน ไว้ชั้นหนึ่ง แล้วสร้างฝายหินยาปูนกักตะกอนทราย และดินที่ถูกกัดชะพังทลายมาตามน้ำฝนไว้อีกชั้นหนึ่ง น้ำที่กักด้วยฝายได้ไม่มาก แต่ด้วยความถี่ของฝายที่สร้าง กลับทำให้น้ำชะลอการไหลเลยลงไป ความชุ่มชื้นในดินที่อยู่แวดล้อมฝายจึงมีมากขึ้น เรียกว่า ป่าเปียกชื้นขึ้น ลดแรงการไหลเลยลงสู่ที่ต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์ก็ย่อมมีอยู่ในชั้นบรรยากาศนานมากขึ้น

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า หลวงพี่โต้ง เป็นส่วนหนึ่ง บทพิสูจน์สัจธรรมความจริงเรื่อง เงิน เกียรติยศ และศักดิ์ศรี มิได้มีความหมายใดๆ หากแต่อยู่ที่ “ใจ” ตนเองต่างหากที่ดำรงไว้ให้เกิดความเป็น “คน” ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่า หลวงพี่โต้งพระหนุ่มนักเรียนนอก ผู้มีอันเหลือจะกินจะลงมาใช้ชีวิตเป็นพระนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริได้อย่าง มั่นใจ สร้างความมั่งคงให้แก่ชาวบ้าน เป็นมิ่งขวัญของคนบ้านป่าเมืองดอยในเขต อ.สะเมิง ได้อย่างน่าเคารพนับถือ

ทุกๆ เช้า ท่านจะนั่งรถออกไปบิณฑบาตจากหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากวัดประมาณ ๕ กม. ทั้งนี้ท่านจะฉันอาหารเพียงวันละมื้อเท่านั้น

"ฉันพัฒนาวัดโดยยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง 'บวร' อันหมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการจมอยู่กับยาสารเคมี มาเป็นใช้ชีวิตร่วมกันกับอินทรียวัตถุ"

เรื่อง... "ไตรเทพ ไกรงู"
ภาพ... "นิวัตร-ธงชัย เปาอินทร์
คมชัดลึก
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระสรยุทธ ชยปัญโญ (หลวงพี่โต้ง) วัดพระธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่

Post by Nadda »

หลวงพี่โต้ง 1.jpg หลวงพี่โต้ง 2.jpg หลวงพี่โต้ง-หลวงพี่สังคม พระลุยไฟป่าอันมีเหตุมาจาก..."ไฟกิเลสในใจคน"
กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้รายงานสถานการณ์ไฟป่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีการเกิดเหตุ กว่า ๖,๗๐๐ ครั้ง พื้นที่ป่าอนุรักษ์เสียหายกว่า ๘๓,๐๐๐ ไร่ รุนแรงกว่า พ.ศ. ๒๕๕๒ และคาดอีกว่า พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม สถานการณ์ไฟป่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องต่อไปอีก เนื่องจากอากาศหนาวเย็นยาวนาน มีเชื้อเพลิงจากไม้ป่าแห้งสะสม ที่สำคัญ คือ ไฟป่าเป็นภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์

ถ้าพวกท่านอยากรู้และสัมผัสว่านรกมีจริงและร้อนสาหัสเพียงใด ให้มาช่วยกันดับไฟป่า ที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ดูสิ

นี่ คือคำท้าทายและเชิญชวนให้พวกเราทุกคนมาพิสูจน์ ถึงความยากลำบากอย่างแสนสาหัสของพระสังคม ธนปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ต.แม่สาบ/ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ หรือ "หลวงพี่สังคม" พระนักพัฒนารูปหนึ่ง บนยอดดอยผาส้ม ดูแลผืนป่าเกือบแสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสะเมิง อันเป็นป่าต้นน้ำแม่ขาน ที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ก่อนที่จะไหลมาร่วมกันที่ปากน้ำโพธิ์ จ.นครสวรรค์ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา

หลวงพี่สังคม เล่าให้ฟังว่า ๕ ปีเต็มๆ ที่ต้องคอยปกป้องคุ้มครองผืนป่าต้นน้ำแห่งนี้ ที่เคยถูกไฟไหม้ทุกปี และมีการแผ้วถางบุกรุกอยู่อย่างสม่ำเสมอของผู้ละโมบบางคน การลักลอบค้าไม้ บางครั้งต้องถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา ถูกกดดันจากผู้เสียผลประโยชน์ แต่ท่านก็ต้องอดทนและตั้งสติให้มั่นคง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพื่อชาติบ้านเมือง เพื่อผืนป่าที่ร่อยหรอลงทุกปี หากเราไม่เริ่มทำ และเอาจริงเอาจัง ใครเล่าจะมาช่วยเรา

รัฐมนตรี ผู้หลักผู้ใหญ่ เขาไม่รู้จริงหรอก ระดับสูงเขาไม่เคยมาลงมือดับไฟป่าเองอย่างอาตมาหรอก เขาไม่เคยอยู่ท่ามกลางไฟป่าที่ร้อนสาหัส และเห็นภาพความสูญเสีย ด้วยน้ำตา จึงอย่าหวังว่าเขาจะอินกับมันและอินกับความทุกข์ยากลำบากของคนรากหญ้า การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าจึงเป็นแค่ทางผ่านของงบประมาณ และการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกจุดไม่ยั่งยืน

รัฐบาลชุดนี้ฝากเยอะแล้ว ไม่ว่าเรื่องแนวคิดธนาคารต้นไม้ ในการแก้ปัญหาวิกฤติเกษตรกรและวิกฤติชาติ อย่างยั่งยืน ทั้งท่านอภิสิทธิ์ ท่านสุวิทย์ ท่านชัยพร พบมาหมดแล้ว ไม่เห็นมีอะไรคืบหน้า พวกเราคนเล็กคนน้อย ชนชั้นรากหญ้านี่แหละก้มหน้าก้มตาทำไป ทำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงของเรา ป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง ทำให้พอกิน พออยู่ พอใช้ แล้วจะได้ความร่มเย็น ทั้งกายและใจ อย่าไปหลงปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันกลับมาเชื่อพ่อ เดินตามรอยเท้าพ่อของแผ่นดิน รับรองเราจะรอดพ้นจากวิกฤติได้อย่างแน่นอน" หลวงพี่สังคมกล่าว

พร้อม กับคาดสถานการณ์ไฟป่า ด้วยว่า ?ไฟป่าปีนี้จะสาหัสและรุนแรงกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เพราะปีที่แล้วชาวบ้านดับไฟป่าแล้วได้เงินเพราะเป็นความผิดพลาดอย่างแรง ของกระทรวงทรัพย์ฯ ที่ไม่เข้าใจวิธีการป้องกันและแก้ไข ให้ได้ผลและอย่างยั่งยืน ทำธนาคารต้นไม้(Tree Bank) สิ ตามแนวทางพระราชดำริ ป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง ปลูกให้พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ก็จะตามมา ให้ชาวบ้านมีผลประโยชน์กับป่า ปลูกป่าแล้วเขาได้เงิน ดูแลป่าแล้วได้ผลประโยชน์ด้วย?

อย่างไรก็ตาม คนจำนวนไม่น้อยอาจจะตั้งคำถามว่า "ดับไฟป่าไม่ใช่หน้าที่ของพระ?" ทั้งนี้หลวงพี่สังคมตอบคำไว้อย่างน่าคิดว่า "วัดควรจะหมายรวมถึง แหล่งรวมจิตใจของคน ที่จะให้ที่พึ่งพิงทางจิตใจให้แก่คน ดังนั้นสถานที่ใดๆ ก็ตามที่สามารถรวมจิตใจของคนได้ สั่งสอนคนให้เป็นคนดี มีสัมมาทิฏฐิได้ อยู่แล้วสงบสุข สบายใจ นั่นก็เปรียบเสมือนวัดได้ สถานที่ต่างๆ ที่ใช้สร้างคนก็คือวัดนั่นเอง อาจไม่ต้องมีสิ่งปลูกสร้างใหญ่โตก็ไม่เป็นไร ในลำห้วย ในคอกหมู ที่ใดก็ได้ ดังนั้น หากเราพาคนไปสร้างฝายในป่า ในลำห้วยนั่นแหละคือวัด หากเราไปสอนคนเลี้ยงหมูหลุม ก็คอกหมูนั่นเองเป็นวัด หากพาคนไปดับไฟป่า ก็แนวกันไฟนั่นคือวัดของเรา ในมุมมองของวัดพระบรมธาตุดอยผาส้มนั้น เราจะมีคำถามแก่ผู้มาที่วัดซึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้นอุดมการณ์ว่า เราจะทำประโยชน์อะไรให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้บ้าง โดยการใช้หลักการเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง"

ไฟป่ามีเหตุจากไฟกิเลสในใจคน
"ไฟ ป่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นป่าไหนจังหวัดใด ไม่ใช่ไฟป่าที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากเป็นไฟป่าที่เกิดจากน้ำมือคน ไฟป่าที่มาจากไฟกิเลสในใจคน คงเป็นเรื่องยากที่จะดับไฟป่าให้หมดลงได้ ตราบใดที่เรายังดับไฟกิเลสในใจคนให้ดับลงไม่ได้" นี่คือคำยืนยันของ พระครูธรรมคุต (พระอธิการสรยุทธ ชยปญฺโญ) หรือหลวงพี่โต้ง เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ที่มีประสบการณ์ต่อสู้กับไฟป่าเพื่อรักษาป่าต้นน้ำมา ๕ ปีเต็มๆ

หลวง พี่โต้งบอกว่า หากลองมองย้อนดูในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ออกเดินทางเผยแผ่หลักธรรม ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในเส้นทางสายปกติและในป่าเขาที่ยากจะเข้าถึง พระองค์ก็ได้ใช้ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำคูหาต่างๆ เป็นวัดทั้งนั้น วัดวาอารามหาได้มีมากเท่ากับปัจจุบันไม่ แต่ทำไมมีผู้บรรลุธรรม สำเร็จอรหันต์เป็นจำนวนมาก เพราะวัดไม่ได้เป็นเฉพาะบ้านพักของวัดแต่อย่างเดียว หากแต่เป็นที่ยกระดับจิตใจของคนด้วย หากเราคิดแต่จะสร้างวัดที่มีเพียงวัตถุ โบสถ์วิหารเท่านั้น ก็คงสำเร็จประโยชน์ไม่มาก เหมือนกับให้ความสนใจเพียงเปลือกภายนอก ไม่ได้เข้าไปสัมผัสถึงแก่นแท้ของคุณธรรม ปัญหาต่างๆ จึงมีให้เห็นมากมายดังเช่นทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของปัญหาต่างๆ ในสังคมนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากคนขาดคุณธรรมทั้งสิ้น

การพัฒนาของวัด ทางวัดได้น้อมนำเอาศาสตร์ของพระราชามาบูรณาการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วย หลักบวร ๔ ด้าน ด้านแรกก็คือ ด้านอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่างตามแนวทางพระราชดำริ เรื่องธนาคารต้นไม้ เรื่องป้องกันดูแลรักษา แม้เรื่องหมอกควันและไฟป่าก็อยู่ในเรื่องแรกนี้

๒.เรื่อง เกษตรอินทรีย์การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ปุ๋ยอินทรีย์ ยาไล่แมลง ฮอร์โมนพืช เรื่องการพึ่งตนเองด้านเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดจะอยู่นี่ ๓.เรื่องพลังงานทดแทน วัดเราจะทำไบโอดีเซลเองจากน้ำมันทานตะวัน รถวัด โตโยต้า เติมน้ำมัน บี ๑๐๐ ทำเอง และเรื่องที่ ๔.ที่ทางวัดทำก็คือการศึกษาทางเลือก คือขอตั้งโรงเรียนม.๑-ม.๖ สอนเอง ทำหลักสูตรเอง ให้เขาเรียนที่บ้านที่วัด เรียนรู้ชุมชน เรียนวิธีการพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด ตามรอยเท้าพ่อ คือ ปลูกกิน ปลูกอยู่ ปลูกใช้เป็น กตัญญูรู้คุณ พ่อแม่ จบแล้วไม่ไปของานใครทำ

หลวง พี่สังคมและหลวงพี่โต้งต้องดูและเกือบแสนไร่ ป่าต้นน้ำปิง ไหลลงสู่เจ้าพระยานั่นแหละ พวกเราทั้งคนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำได้ประโยชน์ร่วมกันนั่นแหละ ตอนนี้ที่วัดอยากได้งบมาช่วยจ้างคนดูแลไฟป่าช่วยกัน รถขับเคลื่อนสี่ล้อเก่าๆ สักคัน ไว้ขนคน ขนน้ำไปแนวกันไฟ หรือใครอยากมาเป็นอาสาสมัครดับไฟป่า โทรไปที่ ๐๘-๙๕๗๔-๒๕๒๘ หรืออีเมล : doiphasom@gmail.com ส่วนใครมีกำลังทรัพย์มากพอร่วมทำบุญได้ที่ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะเมิง เลขบัญชี ๕๔๔ ๐๑๕๒ ๐๖๓ (มีใบอนุโมทนาบัตรลดภาษีได้)

"สถานที่ต่างๆ ที่ใช้สร้างคนก็คือวัด หากเราพาคนไปสร้างฝายในป่า ในลำห้วยนั่นแหละคือวัด หากเราไปสอนคนเลี้ยงหมูหลุม ก็คอกหมูนั่นเองเป็นวัด หากพาคนไปดับไฟป่า ก็แนวกันไฟนั่นคือวัดของเรา"
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระสรยุทธ ชยปัญโญ (หลวงพี่โต้ง) วัดพระธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่

Post by Nadda »

พรปีใหม่จากหลวงพี่โต้ง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ โดยทิดท้วม
หลวงพี่โต้ง 3.jpg ส่งเมื่อ:29 ธันวาคม 2553 9:00:16

ถึง:พุทธศาสนิกชน

ขอเจริญพร ญาติโยมผู้โชคดีทุกคน

ที่ว่ามีโชค เพราะยังมีโอกาสอยู่ มีลมหายใจอยู่ เมื่อดูโศกนาฏกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ย่อมบอกได้ว่า มันสามารถเกิดขึ้นกับเราได้จริงๆ เพราะเราก็มีกิจกรรมประจำวันที่ได้ทำแบบผู้เคราะห์ร้ายแบบนั้น เช่นขับรถบนโทลล์เวย์เป็นต้น ใครจะไปรู้ว่าเราจะถึงฆาตวันใด ทุกวันนี้ทั้งชีวิตจิตใจของเรา โหยหาแต่เรื่องทรัพย์และที่มาของทรัพย์ คือการเรียนและหน้าที่การงาน ว่าทำอย่างไรทรัพย์ของเราจึงจะเจริญขึ้น เพราะคิดว่าทรัพย์นั้นจะสามารถเป็นที่พึ่งให้กับเราได้ยามยาก แต่ในท่ามกลางชีวิตปัจจุบันนี้ ทั้งภัยธรรมชาติ โรคระบาด ผลผลิตตกต่ำ ของราคาแพง และความขัดแย้งในกลุ่มคนที่ร้าวบาดลึกทุกวันนี้ ทรัพย์ของเรายังจะช่วยเราได้อีกเพียงใด
หลวงพี่โต้ง 4.jpg ในความเห็นส่วนตัว หากอาตมามีทรัพย์ ก็จะแบ่งไปเป็น สาม ส่วนดังนี้

๑. แลกเป็นทองคำ เพราะเป็นของจริงที่เป็นหลักทรัพย์ที่คนให้คุณค่า ไม่เหมือนกับเศษกระดาษที่เขาพิมพ์ขึ้นมา อย่าที่เห็นตอนนี้ราคาทองคำขึ้นเอาๆ ไม่มีทางลดลงแล้ว เพราะคนเริ่มรู้แล้วว่าเงินเป็นกระดาษ บางประเทศอยากพิมพ์ก็พิมพ์ธนบัตรมาเองตามใจชอบทั้งๆที่ไม่มีทองคำสำรอง หากเรามีทองคำจริงๆก็จะเป็นหลักประกันชั้นต้นได้ระดับหนึ่ง

๒. เมื่อเงินหมดค่า ทองคำก็จะเป็นของกลางไว้แลกเปลี่ยนแทน แต่อนิจจา ยามหิวมา ทองคำก็ติดคอ กินไม่ได้ ยามหนาวมา จะมาห่มกันหนาวก็ไม่ได้ ฝนตกหนัก จะเอาทองมากันฝนได้หรือ แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องใช้ยาไม่ใช่ทองคำ ดังนั้น คนก็เอาทองคำไปแลกของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เรียกว่า ปัจจัยสี่ แต่ใครรู้บ้างว่าปัจจัยสี่มาจากไหน ต้องมาจากภาคเกษตรเป็นหลัก ดังนั้น อาตมาก็จะเอาเงินที่ยังคงมีค่าในวันนี้ ไปซื้อที่ดิน ปลูกต้นไม้ สร้างป่า สร้างอาหาร ทำที่พัก มีภูเขามีน้ำสะอาดกิน อ่างที่เป็นโครงการที่ทำอยู่บนดอยผาส้ม สรุป เราจะผลิตของเราเอง เพราะอนาคต ใครจะมาผลิตเราก็ไม่ทราบได้ ทราบแต่ว่าราคาขึ้นตลอด แพงไปเรื่อยๆตลอด ที่ออมเอาไว้ไม่นานก็หมด ถ้าคิดแต่จะซื้ออย่างเดียวไม่หันมาผลิตเองซะบ้าง ดัวนั้น แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเรื่องป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างจึงจะช่วยได้ในที่นี้

๓. สุดท้าย เอาเงินวันนี้ที่ยังมีค่า ไปแลกเป็นบุญกุศลซะเลย อันนี้สำคัญมาก รอวันข้างหน้าเงินหมดค่า หมดอายุ expire ไปแล้ว จะมาสร้างอะไรทำประโยชน์ทำบุญไม่ได้เลย เป็นเหมือนเศษใบไม้แห้ง หรือแค่ตัวเลขในสมุดบัญชี ดังนั้น มาดูในพุทธพจน์ ที่ทางวัดสวดทุกวันพฤหัส ในนิธิกัณฑสูตร จะบอกไว้หมด

นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนคฤหบดีอุบาสก ทรงตรัสพระคาถาว่า

[๙] บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึก ด้วยคิดว่าเมื่อกิจที่จำเป็นเกิด

ขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อเปลื้องตนจากราชภัยบ้าง

เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้บ้าง ในคราว

ทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลก

ก็เพื่อประโยชน์นี้แล.

ขุมทรัพย์นั้น ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาทั้งหมด ใน

กาลทุกเมื่อที่เดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่ไปเสียบ้าง

ความจำของเขาคลาดเคลื่อนเสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสีย

บ้าง ยักษ์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ผู้รับมรดกที่ไม่เป็นที่รักขุดเอาไป

เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง ในเวลาที่เขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้น ย่อม

สูญไป.

ขุมทรัพย์คือบุญ ของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม

ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีล สัญญมะความสำรวม ทมะความฝึกตน

ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ใน

บิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.

ขุมทรัพย์นั้น ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจผจญได้

เป็นของติดตามตนไปได้ บรรดาโภคะทั้งหลายที่เขาจำต้องละไป

เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป.

ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น โจรก็ลักไปไม่

ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.

บุญนิธินั้น อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างแก่เทวดา และ

มนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาและมนุษย์ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใด ๆ อิฐผล

ทั้งหมดนั้น ๆ อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงเพราะ ความมีทรวดทรงดี

ความมีรูปงาม ความเป็นใหญ่ยิ่ง ความมีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น อัน

บุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นใหญ่ [ คือ

จักรพรรดิราช ] สุขของพระเจ้าจักรพรรดิที่น่ารัก ความเป็นพระ-

ราชาแห่งเทวดาในทิพยกายทั้งหลาย อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคล

ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

สมบัติของมนุษย์ ความยินดีในเทวโลก และ สมบัติคือ

พระนิพพานอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้ ด้วยบุญนิธินี้.

ความที่บุคคลอาศัยสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อม คือมิตร

แล้ว ถ้าประกอบโดยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิ-

มุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.

ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ และ พุทธ

ภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม ได้ ด้วยบุญนิธินี้.

บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้น เป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญ

ความเป็นผู้ทำบุญไว้แล.

จบนิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

ขอให้ทุกท่านจงดำเนินตามแนวทางที่ไม่ประมาทและรอบคอบด้วยเทอญ
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระสรยุทธ ชยปัญโญ (หลวงพี่โต้ง) วัดพระธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่

Post by Nadda »

ศูนย์ การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม นี้ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 089-926-3877 และ 089-952-6266 โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คือ พระสรยุทธ ชยปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม และพระสังคม ธนปญฺโญ

ศูนย์ การเรียนรู้แห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำหลักพระพุทธศาสนา และเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม โดยการทดลองใช้จริง เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การผลิตสารอินทรีย์ชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมี การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ การบริหารจัดการขยะ เป็นต้น

ศึกษาแนวพระราชดำริ

พอ บวชแล้วได้เน้นงานอบรมธรรมะแก่เยาวชน แต่พระอาจารย์สังคมว่า ทำไปช่วงหนึ่งก็เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมถึงครอบครัวและชุมชน จึงได้คิดหาวิธีใหม่ๆ จนได้มาศึกษาแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสว่า บ้าน วัด โรงเรียนต้องเกื้อหนุนส่งเสริมกันและกัน กอปรกับได้อ่านคติพจน์ของหลวงปู่จันทร์ กุสโล อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และเป็นผู้อุปถัมภ์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ที่ว่าเศรษฐกิจจิตใจแก้ไขพร้อมกัน ทำให้เกิดประกายความคิดที่จะสอนชาวบ้าน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ มาเป็นแนวทาง

“ตั้งแต่ นั้นอาตมาได้เริ่มเก็บข้อมูลของชาวบ้านและชุมชนจนรู้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เป็น ทุกข์ เพราะมีหนี้สินติดตัวจึงได้ไปติดต่อกับเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง กระทั่งมีโครงการต่างๆ ได้พยายามติดต่อเข้ามาช่วยชาวบ้าน เช่น โครงการมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โครงการไบโอดีเซล โครงการชีววิถีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โครงการสร้างฝายแฝกตามโครงการพระราชดำริ เป็นต้น ทำให้ชาวบ้านเริ่มมีความหวังในชีวิต”

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

พระ นักพัฒนาชุมชนเมื่อได้มองเห็นปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจสี่แล้ว จึงร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยผาส้มเริ่มการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน และชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาทำที่วัดโดยมี 4 แผนหลักใหญ่ๆ

1.โครงการอนุรักษ์น้ำ รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ สร้างฝาย (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง โดยใช้ธนาคารต้นไม้เป็นตัวนำร่องปลูกต้นไม้ในใจคน

พระ อาจารย์ กล่าวว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา และภาคเหนือเป็นแหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติของไทย ซึ่งหากมีการตัดไม้ทำลายป่าเผาป่าจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และเจ้าพระยา ดังนั้นจึงต้องปลูกป่าทำแนวทางกั้นไฟป่า

“อาตมา ได้พยายามชักนำหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยทำงานร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงปัญหาและเกิด ความรู้สึกอยากปกป้องรักษาป่าเองไม่ใช่เพราะการบังคับ และได้นำโครงการธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เข้ามา ดำเนินการเป็นสาขาแรกในภาคเหนือ จัดทำสมุดบัญชีและปลูกป่าต้นน้ำ เริ่มโครงการปลูกป่าสร้างฝายถวายในหลวงอย่างต่อเนื่อง ร่วมโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมีของกองทัพบก จัดอบรมเวทีปลูกต้นไม้ในใจคน เปิดสาขาภาคเหนือกว่า 20 สาขา เชิญชวนปลูกต้นไม้มากกว่าแสนต้น และสร้างฝายถวายในหลวงกว่า 2,500 ฝาย จัดทำโครงการเขตป่าอนุรักษ์พิเศษกว่า 1 หมื่นไร่ ให้รอดจากไฟป่าจนทางวัดได้รับรางวัลการป้องกันรักษาไฟป่าและหมอกควันติดต่อกัน 2 ปีซ้อน ปัจจุบันเป็นที่น่าดีใจที่ชุมชนมีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด”

2.การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สุขภาพดีขึ้น

สาเหตุ อันหนึ่งที่ชาวบ้านเป็นหนี้ก็คือการไปกู้เงินซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ทำให้เป็น หนี้ กล่าวคือเมื่อผลผลิตไม่ได้ตามเป้าก็ทำให้ต้องเป็นหนี้ พระอาจารย์จึงปรึกษากับผู้รู้และเชิญหน่วยงานที่ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ สารชีวภาพต่างๆ มาให้ชาวบ้านทดลองทำ พยายามช่วยให้ชาวบ้านทำน้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ทำปุ๋ยใช้เอง ส่วนอาหาร เสื้อผ้า ที่พัก ยารักษาโรค ก็ใช้หลักการของในหลวงคือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

“พร้อม ได้จัดหาทุนช่วยเหลือจากมูลนิธิต่างๆ มาสร้างศูนย์การเรียนรู้การพึ่งตนเองจากฐานงานต่างๆ อย่างได้ผล ช่วยจัดการบริหารแหล่งน้ำด้วยการสร้างฝายทั้งชั่วคราวและแบบถาวรเพื่อให้ ชุมชนมีน้ำใช้ในหน้าแล้งอย่างเพียงพอ จนชาวบ้านพึ่งตนเองได้ในระดับที่น่าพอใจ ไม่ต้องซื้อน้ำยาซักผ้า สบู่ ปุ๋ย ยา สารเคมี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มาก ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นกอบเป็นกำ เช่น ทำน้ำยาอเนกประสงค์ส่งขายให้กับหน่วยราชการต่างๆ ได้อีกทางหนึ่งด้วย”

3.การส่งเสริมพลังงานทดแทน

การส่งเสริมพลังงานทดแทนพระอาจารย์ได้ติดต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำวัดเข้าสู่โครงการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเรื่องพลังงานลมแต่ยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกดอกทานตะวันเพื่อใช้เมล็ดผลิต เป็นเชื้อเพลิงใช้ในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่าชุมชนมั่นใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าน้ำมันจากเมล็ด ทานตะวันสามารถใช้กับรถยนต์ได้จริง 100% ทำให้มีการเร่งปลูกทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวพืชหลักของตน

4.การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ด้วยโฮมสกูล (Home School) เพื่อเป็นโรงเรียนแบบใหม่สำหรับเด็กในชุมชนที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกอันทันสมัยนี้

การ ศึกษารูปแบบใหม่นี้ พระอาจารย์ กล่าวว่า อาจเป็นคำตอบสำหรับแนวการศึกษาภาคชนบทอย่างแท้จริงในอนาคต เพราะปัจจุบันคนหนุ่มสาวพากันออกจากหมู่บ้านเข้าไปทำงานในเมืองหรือเข้าไป เรียนในเมืองกันหมด ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือพยายามดึงเด็กรุ่นใหม่ให้อยู่ในหมู่บ้านให้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันเด็กต้องได้รับการศึกษาไปพร้อมกันด้วยแต่ต้องเป็นการศึกษา ที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนด้วย

“การ ศึกษาในปัจจุบันตอบสนองนโยบายชาติ แต่ไม่ตอบสนองความต้องการของครอบครัว ความตั้งใจของอาตมาคือต้องการให้รู้เท่าทันคน สามารถทำงานไปด้วยแต่ก็ได้รับความรู้จากการทำงานด้วย การทำเช่นนี้ถึงจะช่วยพ่อแม่ปลดหนี้สินได้ แต่ถ้าให้พ่อแม่กู้หนี้ยืมสินไปส่งลูกเรียน ลูกจบออกมาก็ต้องทำงานใช้หนี้ ต้องทิ้งบ้านออกไปทำงานในเมือง พ่อแม่ถูกทอดทิ้ง ไร่นาไม่มีคนทำ ปัญหาสังคมก็ตามมา”

พระ อาจารย์อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับหลักสูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุดอยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้

“ปัจจุบันในโฮมสกูลแห่งนี้มีนักเรียนมัธยมต้น 5 คน มัธยมปลาย 3 คน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบพี่สอนน้องและเรียนไปด้วยกัน โดยแบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ช่วงใหญ่ คือเปิดทางฝัน ซึ่งจะนำเด็กๆ ไปดูงานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาตัวเอง ช่วงที่ 2 เป็น การก่อร่างสร้างฐาน คือ การนำความสนใจจากความรู้ต่างๆ มาหลอมรวมกับจินตนาการสู่การปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และช่วงสุดท้ายคือ เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เข้ากับสิ่งรอบตัว ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้”

สำหรับ มาตรฐานทางความรู้นั้นนักเรียนของโฮมสกูลคนหนึ่งบอกว่าจะต้องไปสอบวัดระดับ ความรู้ที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะๆ ในตารางเรียนรอบสัปดาห์จะมี 2 วันเรียนวิชาสามัญเหมือนนักเรียนในหลักสูตรปกติ ส่วนอีก 2 วันเรียนเกษตรกับเข้าฐานปฏิบัติงานและจะต้องมีวันหนึ่งเรียนธรรมะกับพระอาจารย์ที่วัด

พระ อาจารย์สังคม กล่าวว่า จากการพัฒนาวัดด้านถาวรวัตถุมาสู่การพัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช ดำริฯ จากคติธรรมของหลวงปู่จันทร์ กุสโล มาเป็นการบูรณาการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งทั้ง 4 ด้าน อย่างครบวงจรดังกล่าว จนทำให้ชุมชนในละแวกหมู่บ้านอมลองและใกล้เคียงมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ ชุมชนมีความหวังว่าจะหมดหนี้หมดสินในวันข้างหน้าอันใกล้

“อาตมารู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านด้วยความเต็มใจ” พระสังคม กล่าว

วัดพระธาตุดอยผาส้มให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเด่นชัด ทำให้การนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงสู่ปฏิบัติการของงาน CSR (Cooperate Sustainable Responsibility) ของวัดที่สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นความหวังของชาวพุทธตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงจะต่างกาละเทสะ (Space and Time) ก็ยังเกิดโรงเรียนวัด โดยใช้คำใหม่ในบริบทเก่า ว่า โฮมสกูล (Home School) และจัดได้ว่าเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ของสถานที่ ที่เป็นสาธารณสถาน สู่สาธารณประโยชน์ (Public 2 Public)


หัวข้อที่ 1 แนวทางการพัฒนาชุมชนได้ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการที่ยั่งยืนอย่างไร

พระ อาจารย์อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับหลักสูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุดอยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้
s1.png กรณีศึกษา การจัดการอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

แนวทางพระราชดำริ “บวร” [6]

ก่อให้เกิดกระบวนการประชาสังคม “บวร” คือการนำเอารูปแบบและแนวคิด การพัฒนา แบบ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) กล่าวคือ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และ/หรือ สถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา อันได้แก่ การนำเอาสถาบันที่สำคัญในชุมชน 3 สถาบันได้แก่ สถาบันการปกครอง (บ = บ้าน) สถาบันศาสนา (ว = วัด) และ สถาบันการศึกษา (ร = โรงเรียน) ผนึกกำลังจัดตั้งเป็นองค์กรที่เรียกว่า “มนตรี บวร” เพื่อนำมารองรับและดำเนินการต่างๆ ตามนโยบายของทางราชการ (สุริยน จันทรนกูร,2537) ฉะนั้น คำว่า “บวร” จึงเป็นคำย่อ โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า บ้าน วัด โรงเรียน มา บัญญัติเป็นคำใหม่ คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ “บวร” (ธนพรรณ ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้

สถาบันการปกครอง (บ้าน) ซึ่งประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อบต. สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล เป็นต้น รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ ด้วย

สถาบันศาสนา (วัด) ประกอบด้วยเจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ กลุ่ม หรือ ชมรมทางศาสนา ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย

สถาบันการศึกษา (โรงเรียน) ประกอบ ด้วย ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย

ดังนั้น ประชาสังคมแบบ “บวร” จึงหมายถึง การนำเอา สถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และ ชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชนด้วยการร่วมกันคิด สร้าง และ บริหารจัดการชุมชนของคนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ
s2.png กรอบแนวคิดโฮมสกูล(Home School) ของวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

แนวทางการจัดการที่ยั่งยืน

พระ นักพัฒนาชุมชนเมื่อได้มองเห็นปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจสี่แล้ว จึงร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยผาส้มเริ่มการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน และชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาทำที่วัดโดยมี 4 แผนหลักใหญ่ๆ
s3.png ต้นแบบบูรณาการกับแนวทางการจัดการที่ยั่งยืนวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

แนวทางที่ ๑ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าต้นน้ำ

โครงการอนุรักษ์น้ำ รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ สร้างฝาย (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง โดยใช้ธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เป็นตัวนำร่องปลูกต้นไม้ในใจคน

1. การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ

2. ป้องกันไฟป่าการบุกรุกทำลายป่าไม้

3. การสร้างฝายเพื่อการรักษาแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อการเพาะปลูก

4. การสร้างธนาคารต้นไม้พัฒนาการเกษตรให้ถูกทาง



แนวทางที่ ๒ ปัจจัยสี่และการกสิกรรม

การ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สุขภาพดีขึ้นทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ สารชีวภาพต่างๆ มาให้ชาวบ้านทดลองทำ พยายามช่วยให้ชาวบ้านทำน้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ทำปุ๋ยใช้เอง ส่วนอาหาร เสื้อผ้า ที่พัก ยารักษาโรค ก็ใช้หลักการของในหลวงคือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

1. การทำเกษตรแบบผสมผสานปลูกไม้ 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไม้กิน ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ ประโยชน์เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ

2. การฟื้นคืนชีวิตให้กับดินโดยการใส่สารชีวภาพและปลูกหญ้าแฝกคลุมดิน การยกเลิกการใช้สารเคมี



แนวทางที่ ๓ การอนุรักษ์พลังงานและการผลิตพลังงานทดแทน

การส่งเสริมพลังงานทดแทนพระอาจารย์ได้ติดต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำวัดเข้าสู่โครงการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเรื่องพลังงานลมแต่ยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกดอกทานตะวันเพื่อใช้เมล็ดผลิต เป็นเชื้อเพลิงใช้ในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่าชุมชนมั่นใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าน้ำมันจากเมล็ด ทานตะวันสามารถใช้กับรถยนต์ได้จริง 100% ทำให้มีการเร่งปลูกทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวพืชหลักของตน

1. การปลูกทานตะวันเพื่อผ่าเม็ดมาผลิตไบโอดีเซล กากทำให้แห้งขายเอาไปทำปุ๋ย

2. การนำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโชยน์ พลังงานลม น้ำต่างระดับ

3. การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างคุ้มค่า



แนวทางที่ ๔ การศึกษาที่พอเพียง

การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ด้วยโฮมสกูล (Home School) เพื่อเป็นโรงเรียนแบบใหม่สำหรับเด็กในชุมชนที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกอันทันสมัยนี้

1. การจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล มีโครงการต่างๆให้เลือกเรียนรู้ เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ที่จะพัฒนาการเกษตรของพ่อแม่ให้ถูกทาง

2. นำวิชาความรู้มาพัฒนาท้องถิ่น

3. ไม่เน้นลูกจ้างเน้นหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมิให้ตัดสินใจผิดพลาดเหมือนที่พ่อแม่ได้ทำมาก่อน


วิเคราะห์แนวทางการจัดการดังกล่าวมีผลดีต่อชุมชนหรือไม่ อย่างไร

แนวทางการดำเนินการดังกล่าวจะต้องสอดประสานกันเป็นแบบ”พลังเบญจภาคี”[9] คือการประสานระหว่าง ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสัมพันธ์และสื่อสาร
s4.png "พลังเบญจภาคี”

พระอาจารย์สรยุทธ ชยปญฺโญ มัธยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและมัธยมปลายที่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดโดยใช้เวลาเพียงปี เดียว

พระอาจารย์สังคม ภูมิหลังเคยเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ เป็นนักจัดรายการวิทยุทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์เรียนและทำงานในต่างประเทศ 10 ปี และก่อนอุปสมบทได้เป็นหนึ่งในช่างภาพเฉพาะกิจของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการรัฐเทกซัส

อ้างอิงจาก http://www.thaiblogonline.com/sodpichai ... 1#_ftnref1
Post Reply