พระครูอลงกต พระโพธิสัตว์ของผู้ป่วยเอดส์

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

พระครูอลงกต พระโพธิสัตว์ของผู้ป่วยเอดส์

Post by Nadda »

ข้อมูลจาก คมชัดลึก
1483098low.jpg ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน เอดส์เป็นโรคที่ผู้คนหวาดกลัวมากที่สุด ผู้ติดเชื้อถูกเว้นวรรคจากชุมชน สังคมรอบข้าง แม้แต่สายโลหิตเดียวกันยังปฏิเสธ

ผู้ป่วยต้องเก็บตัวเงียบอยู่โดดเดี่ยว ไร้พี่ ไร้น้อง ไร้เพื่อน หมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนตายทั้งเป็น
จน เอดส์คู่แรกเมืองไทย น้องฝ้ายกับสามีได้โชว์ตัวครั้งแรก ทำให้สังคมเริ่มให้กำลังใจผู้ป่วยเอดส์มากขึ้น ผู้ติดเชื้อก็มีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้น

จนเกิดการยอมรับจากองค์กรช่วยเหลือทั้งภาครัฐและเอกชน

ยิ่งโครงการ "ธรรมรักษ์นิเวศน์" บ้านพักผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย วัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมือง ลพบุรี เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งแวะเวียนไปเยี่ยมโครงการวันละหลายร้อยคน ต่างคนต่างฐานะ ต่างความคิด แต่จุดหมายเดียวกัน

โครงการนี้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ภายใต้การดูแลของ"พระครูอาทรประชานาถ" หรือพระอาจารย์อลงกต ติกขปัญโญ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมให้เมตตาและมีมนุษยธรรมต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ถูกทอดทิ้งจนตาย

มีพระสงฆ์ แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครเป็นผู้ดูแลร่วมกัน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ให้บริการสาธารณกุศล สงเคราะห์ทั้งที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย

มีค่าใช้จ่ายเดือนละไม่ต่ำกว่า ๑.๕ ล้านบาท บางเดือนเงินไม่มีหรือมีก็ไม่เพียงพอ จึงตกอยู่ที่พระอลงกตเพียงรูปเดียว แต่ทุกสิ่งก็จบลงที่ความตั้งใจเด็ดเดี่ยวและเสียสละ
4193533low.jpg ออกตระเวนบอกบุญ ทัวร์คอนเสิร์ต ต่อสู้ฟันฝ่าและทำทุกวิถีทาง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีชีวิตอยู่ต่อไปจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
ทั้งหนักและท้าทายพ่อพระผู้ป่วยเอดส์

ช่วงปีแรก พระอลงกตถูกต่อต้านจากชาวบ้าน มีการร้องเรียนไปถึงนายอำเภอ ผู้ว่าฯ ให้ย้ายโครงการไปที่อื่น
รุนแรงถึงขั้นไม่ยอมให้ผู้ป่วยขึ้นรถเมล์ ทานก๋วยเตี๋ยวในร้าน

ท่านถูกประท้วงไม่ใส่บาตร ต้องจ้างเด็กในวัดขับมอเตอร์ไซค์ไปซื้ออาหารมาทำเองเพื่อเลี้ยงผู้ป่วย

เมื่ออยู่รูปเดียวก็ทำทุกอย่างตั้งแต่ให้อาหาร ป้อนข้าว ป้อนน้ำ ซักเสื้อผ้า ทำแผล ทายา บีบนวด เช็ดเนื้อเช็ดตัว

ยามนั้นไม่มีบ้านพัก อาศัยหอสวดมนต์เป็นห้องพักชั่วคราว อีกทั้งถูกกระแสกดดันจากสังคม แต่ก็ไม่ทำให้ท่านสิ้นพลังใจ

ท่านพยายามชี้แจงกับชาวบ้านให้เข้าใจการอยู่ร่วมกัน และการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณธรรม จนเกิดอาสาสมัครเข้ามาช่วยงาน
เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติที่ดีขึ้น จากที่เคยรังเกียจและกลัว ก็เปลี่ยนมาเป็นเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้ป่วยมากขึ้น

วัดพระบาทน้ำพุไม่เคยว่างเว้นจากงานศพซึ่งมีให้เห็นวันละไม่น้อยกว่า ๒ ศพ มีพิธีสวดศพทุกวัน ทั้งคนหามและพระสวดต่างเป็นเอดส์ทั้งหมด

เมื่อ มีผู้ป่วยเอดส์เพิ่มขึ้น ท่านจึงเปลี่ยนเตาเผาถ่านธรรมดาเป็นเตาเผาไร้มลพิษรุ่นใหม่จากอเมริกา มูลค่า ๔ ล้าน ๖ แสนบาท สามารถเผาได้วันละ ๑๐ ศพ

ปัจจุบันภาระของท่านเพิ่มทวีคูณ เนื่องจากเด็กทารกชาย-หญิงของผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งไร้ผู้เหลียวแล จึงได้ผุดโครงการเลี้ยงเด็กผู้ป่วยเอดส์ขึ้นอีกโครงการหนึ่ง

แม้หนักจนยากแบกรับ แต่จำต้องทำ

ในห้วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จำนวนผู้ป่วยยิ่งเพิ่มมากขึ้น เฉพาะที่อยู่ในความดูแลไม่ต่ำกว่า ๓ พันคน

โครงการของ ท่านเป็นการให้เปล่า จนเงินบริจาคมีไม่เพียงพอ จึงต้องขอรับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค และสิ่งของต่าง ๆ เพื่อประทังชีวิตผู้ป่วย

ขณะนี้ภายใต้โครงการได้ มีบ้านพักหลังเล็ก ๆ ประมาณ ๑๐๐ หลัง และกำลังจัดสร้างเพิ่มขึ้นอีก ๑๐๐ หลัง ให้ผู้ป่วยเอดส์ที่อาการไม่สาหัสได้อยู่อย่างอิสระ เหมือนกับอยู่บ้านตัวเองโดยไม่ต้องมีใครรบกวน เมื่อถึงเวลาก็จะมีการปฏิบัติสมาธิให้จิตใจสงบ ทำบุญใส่บาตร

ส่วนผู้ ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายจะอยู่ที่บ้านวลัยลักษณ์ มีลักษณะคล้ายโรงพยาบาลขนาดเล็ก สามารถรับผู้ป่วยได้ ๒๐ เตียง มีพยาบาลและอาสาสมัครคอยให้ความช่วยเหลือตลอด ๒๔ ชั่วโมง

ปัจจุบันท่านร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ-เอกชน รณรงค์ให้ความรู้กับสังคม เพื่อให้ตระหนักและวิตกถึงปัญหาและภัยที่เกิดจากโรคเอดส์ซึ่งรุนแรงขึ้นทุก ปี ภายใต้"โครงการหัวใจสีขาว"

เน้นที่กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยงอายุระหว่าง ๑๕-๒๒ ปี

ด้วยความเป็นพระของชุมชน ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูอาทรประชานาถ" อันหมายถึง "ที่พึ่งของปวงชน"

นอก จากนี้ยังได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อีกทั้งได้รับรางวัลเกียรติยศอีก ๖ รางวัลซ้อน เป็นขวัญและกำลังใจ ประกอบด้วย

รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน

รางวัลเสมาธรรมจักร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน

รางวัลแสงเทียนส่องใจ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระราชทาน

รางวัลคนดีศรีสังคม จากสโมสรโรตารี่

รางวัลพลเมืองดีเด่น จากสโมสรไลอ้อน

รางวัลบริการสังคม เพื่อคุณธรรม จากสำนักข่าวกรุงเทพฯ

วันนี้พระอลงกต คือแสงเทียนเล่มเล็กส่องประกาย เป็นความหวังสุดท้ายของผู้ป่วยเอดส์ ที่เลือกใช้ธรรมะจากพุทธศาสน์มาบำบัดอาการผู้ป่วยเอดส์ ทั้งสร้างกำลังใจ ยืดเวลาพวกเขาให้อยู่ดูโลกได้นานขึ้น

ได้เปลี่ยนทัศนคติญาติและสังคมให้หันมาเยียวยาใจผู้ป่วย

ที่มา คอลัมภ์มงคลข่าวสด นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๔๕๓๑ หน้า ๑
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระครูอลงกต พระโพธิสัตว์ของผู้ป่วยเอดส์

Post by Nadda »

โครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก

โครงการเมตตาธรรม ค้ำจุนโลก มีลักษณะของโครงการเป็นโครงการต่อเนื่อง ซึ่งมีผู้รับผิดชอบ คือ คณะสงฆ์จังหวัดลพบุรีและมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี

หลักการและเหตุผล

โรคเอดส์ได้แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยที่การแพร่ระบาดยังไม่สามารถที่จะควบคุมได้ แม้ทางรัฐจะได้ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหา แต่การประชาสัมพันธ์เรื่องโรคเอดส์ลดน้อยลง ทำให้ประชากรขาดความตระหนักในการป้องกันตนเองมากขึ้น ผู้ติดเชื้อนั้นเกิดจากการมีพฤติกรรมเสียง เช่น การเสพสิ่งมึนเมา, การเที่ยวหญิงบริการ, ยาเสพติด เป็นต้นด้วยเหตุผลดังกล่าว หลักการในการแก้ปัญหาจึงควรที่ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการขาดความตระหนักในศีลธรรมโดยเร่งส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ถึงโทษภัยของโรคเอดส์ว่าเกิดจากพฤติกรรมที่ขาดความตระหนักในศีลธรรม ซึ่งบทบาทดังกล่าวควรเป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องให้การอบรมสั่งสอนประชาชนทั้งประเทศอย่างจริงจัง

โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2

โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์(HOSPICE) เป็นโครงการต้นแบบบ้านพักผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย โดยวิถีทางพุทธในประเทศไทยแห่งแรกที่วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี โดยมีพระครูอาทรประชานาถ (อลงกตติกขปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ และเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2535

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่เข้ารับการรักษาที่วัดพระบาทน้ำพุ ได้เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่มีอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยไม่สามารถจะขยายได้เนื่องจากพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการตามวัตถุประสงค์ที่โครงการได้กำหนดขึ้นและผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ เพราะสังคมทั่วไปยังไม่เข้าใจเรื่องโรคเอดส์อย่างแท้จริง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมากมายทั้งที่บุคคลเหล่านั้นก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมือนบุคคลอื่นๆพระอุดมประชาทร ได้ตระหนักถึงปัญหา จึงริเริ่มโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์2 ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33

จากสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนไทยประการหนึ่งคือมีเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา โรคเอดส์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตทั้งสามีและภรรยา จึงทำให้บุตรหลานของผู้เสียชีวิตถูกทอดทิ้งจำนวนหนึ่ง และสังคมยังรังเกียจไม่ยอมรับเท่าที่ควรทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหา เกิดปมด้อยไร้ที่พึ่งที่อบอุ่นทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจนอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดลพบุรียังมีเด็กขาดโอกาสจากการประสบปัญหาของสังคมด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งสมควรได้รับการช่วยเหลือจากรัฐและองค์กรต่าง ๆเพื่อไม่ให้เกิดเป็นวงจรปัญหาของสังคมในโอกาสต่อไป

ประวัติโรงเรียน

ดร.พระครูอาทรประชานาถ วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี ได้มีนโยบายสร้างโรงเรียนถวายในมหาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระชนมายุครบ72 พรรษา พร้อมทั้งเป็นการสนองนโยบายของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูนปถัมภ์ ในการสร้างโรงเรียนรองรับปัญหาบุตรหลานของผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ตามภูมิภาค ภาคละ 1 แห่ง และได้ขอพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า " โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๓ จังหวัดลพบุรี " เป็นโรงเรียนประจำ ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งที่ดินส่วนนี้ บริจาคโดย ดร.พระครูอาทรประชานาถวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี และได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2542 โดยมีดร.พระครูอาทรประชานาถเป็นประธานในพิธีร่วมกับท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
Post Reply