เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post Reply
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

องค์ด้านหน้า นามว่า พระพุทธนิมิตโอวาทศาสดาจารย์ฌาณมุนี (พระวิษณุเป็นผู้สร้าง)
องค์ด้านหลัง นามว่า พระศรีสรรเพชร (นายอยู่-นางมิ่ง เทพสุธา โยมอุปถัมภ์เป็นผู้สร้าง)
2.jpg 3.jpg 1.jpg 5.jpg ภาพสุดท้าย ขวามือ รูปจำลองหลวงพ่อโหน่งในท่ามรณภาพและบรรจุอัฐิอยู่ภายใน
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

หลวงพ่อโหน่ง ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งคอก ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้

ที่มา: ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน)
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

หลวงพ่อปานกับหลวงพ่อโหน่ง
จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน


ตอนนี้ก็อยากจะเล่าประวัติของหลวงพ่อโหน่งสักนิดหนึ่ง ประวัติของหลวงพ่อโหน่งเป็นอย่างนี้ นี่ท่านเป็นพระแท้ ๆ นะ พระอย่างนี้ลูกหลานหายาก คือว่าหลวงพ่อโหน่งน่ะเป็นคนใกล้ ๆ วัดคลองมะดันนั่นเอง ไม่ใช่ลูกเศรษฐีคหบดีที่ไหน

เวลาครบบวชท่านบวชอยู่ที่วัดคลองมะดัน ๑ พรรษา พอพรรษาที่ ๒ ก็อยากจะเรียนปริยัติธรรม ท่านมีน้าชายอยุ่ที่วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพน ท่าเตียน เป็นเจ้าคุณ แล้วเจ้าคุณองค์นี้ได้เปรียญ ๙ ประโยค ท่านก็ไปหาน้าชายบอกว่าอยากจะขออยู่ด้วย อยากจะเรียนบาลี น้าชายก็ดีใจ เห็นหลานชายมีความสนใจในพระปริยัติธรรม ก็บอกว่าอยู่กับน้าเถอะ เรื่องอาหารการบริโภคไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกลัวอด น้าจะเลี้ยงเอง มีอะไรเท่าไรจะสอนให้หมด ไม่เก็บละ ดีใจว่าหลานสนใจในการศึกษา เมื่อคุยกันไปคุยกันมา หลวงพ่อโหน่งก็ถามว่า คุณน้าขอรับ คุณน้าเป็นเปรียญ ๙ ประโยค แล้วก็เป็นเจ้าคุณด้วย คุณน้าละกิเลสได้หมดรึยัง และน้าชายก็แสนจะดีไม่ตอบตรง ๆ หรอก ท่านบอกว่า โหน่ง คุณเข้าไปดูในกุฎิฉันซิว่าฉันมีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งก็เดินเข้าไปดูในห้องท่าน มีโต๊ะหมู่มุกบ้าง โต๊ะหมู่ทองบ้าง งาช้างอย่างดีบ้าง ของมีค่าเยอะแยะอยู่ในกุฎิภายในห้อง นับราคาไม่ไหว ของมีค่าสูง ๆ มาก พอดูทั่วแล้วท่านก็ออกมา หลวงน้าก็ถามว่าโหน่ง คุณเห็นอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งท่านก็จาระไนหมดทุกอย่างเท่าที่เห็น ท่านก็เลยบอกหลวงพ่อโหน่งว่า คุณโหน่ง นี่ถ้าฉันละกิเลสได้น่ะ ของทั้งหลายเหล่านี้มันไม่มีหรอก ถ้ามันจะมีมันก็เป็นของสงฆ์ แต่นี่ฉันมีไว้แล้วก็เป็นของส่วนตัว ก็แสดงว่าฉันนี่ละกิเลสไม่ได้เลย ฉันบวชเป็นเปรียญ ๙ ประโยค และพระราชาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ เรียกกันว่า เจ้าคุณ แต่ฉันก็ละกิเลสไม่ได้สักตัว ราคะ โทสะ โมหะ นี่ฉันละไม่ได้สักตัว หลวงพ่อโหน่งได้ยินอย่างนั้นก็สลดใจ เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นละก็กระผมไม่เรียนแล้วละครับหลวงน้า ถึงจะเรียนกันถึง ๙ ประโยคแล้วละกิเลสไม่ได้ เป็นเจ้าคุณแล้วยังละกิเลสไมได้ ในเมื่อเรียนแล้วละกิเลสไม่ได้ ไม่เรียนให้เหนื่อยหรอกขอรับ ขอลากลับไปวัดคลองมะดัน หลวงน้าก็ไม่ว่าอะไร บอกว่าตามใจ ๆ คุณ ในเมื่อคุณไม่สมัครใจฉันก็ไม่ว่า แต่ว่าถ้าต้องการเรียนเมื่อไร มาอยู่กับหลวงน้านะ หลวงน้าพร้อมที่จะอุปการะ

ความจริงท่านก็ดีมาก แต่ตอนกลับมาอยู่วัดคลองมะดัน ตอนเรียนพระกรรมฐานนี่น่ากลัวจะไปเรียนกับหลวงพ่อเนียม ตอนนี้หลวงพ่อปานไม่ได้บอก ท่านบอกว่าท่านไปนั่งกรรมฐานอยู่ในที่แห่งหนึ่ง คือว่าตรงนั้นมันใกล้ป่าช้า พอมีที่เตียนอยู่นิดหนึ่ง จะแล้งขนาดไหนก็ตาม ตอนนั้นมีแผ่นดินชุ่มอยู่เสมอ ผืนแผ่นดินที่ชุ่มมีบริเวณประมาณสัก ๔ ตารางวา ไม่กว้างนัก ท่านบอก ท่านไปนั่งกรรมฐานอยู่ตรงนั้น ตอนดึกวันหนึ่งปรากฎว่ามีพระสงฆ์องค์หนึ่งรูปร่างเรียกว่าสวยมาก มีลักษณะดี บอกว่าลักษณะเหมือนพระพุทธเจ้า มายืนอยู่ข้างหน้าบอกว่า โหน่ง ที่ตรงนั้นมีพระบรมสารีริกธาตุ ใต้ที่เธอนั่งลงไปน่ะมีขันทองคำขนาดใหญ่มีน้ำเต็ม และในขันทองคำนั้นมีเรือสำเภาทองคำ แล้วก็มีมณฑปทองคำ มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในนั้น เธอควรจะสร้างวิหารทับตรงนี้เข้าไว้ ชาวบ้านเขาจะได้ไม่เดินผ่าน คือ ไม่เดินเหยียบเดินย่ำไปบนพระบรมสารีริกธาตุ หลวงพ่อโหน่งท่านก็บอกกับพระองค์นั้นว่าท่านเพิ่งบวชได้ ๒ พรรษา ยังไม่มีปัญญาจะสร้าง ไม่ทราบว่าใครเขาจะเชื่อถ้าบอกบุญเขา ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอกโหน่ง ตอนเช้าวันพระนะ วันนั้นเป็นวันโกน ตอนเช้าเธอลงศาลาแล้วบอกกับญาติโยมเขา บอกว่าเธออยากจะสร้างวิหาร เท่านี้ละจะมีคนช่วยสร้างจนเสร็จ หลวงพ่อโหน่งท่านรับฟัง แล้วก็ถอนจากกรรมฐาน

ตอนเช้าเป็นวันพระ เวลาฉันข้าวท่านก็พูดกับทายกว่า อยากจะสร้างวิหารตรงนั้นตรงที่ท่านเจริญพระกรรมฐาน ชาวบ้านพอเขารู้เข้าก็พร้อมใจกันช่วยกันสร้างวิหาร ภายในระยะ ๑ ปี วิหารหลังนั้นก็โตนะ เดี๋ยวนี้วิหารหลังนั้นก็ยังอยู่ วิหารหลังนั้นไม่เล็ก ภายใน ๑ ปี ก็สร้างเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านก็นั่งกรรมฐานในพระวิหารนั้น พระองค์นั้นก็บอกว่าให้สร้างพระประธาน คือว่า สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ในวิหารสักองค์ หลวงพ่อโหน่งก็บอกไม่ทราบจะไปเอาช่างที่ไหน พระองค์นั้นก็บอกว่าตอนเช้าให้ออกธุดงค์ ๆ ไปที่เมืองกรุงเก่า ไปถึงหลังวัดประดู่ทรงธรรมละก็ให้ไปปักกลดตรงนั้น แล้วตอนเช้าจะมีคนมาใส่บาตร คนที่มาก่อนเพื่อน นุ่งขาวห่มขาวผมก็ขาวมีขันข้าวมาลูกเดียวไม่มีกับข้าว ถ้าคนนั้นมาละก็ให้พูดกับคนนั้นเขา เขาเป็นช่าง เขาจะมาช่วยปั้นพระ

หลวงพ่อโหน่งก็เชื่อ พอตอนเช้าท่านก็ออกธุดงค์ไป จังหวัดอยุธยาสมัยนั้นเขาเรียกกันว่าเมืองกรุงเก่า เพราะว่าเป็นเมืองหลวงเก่า ไปถึงหลังวัดประดู่ทรงธรรม พอถึงตอนเช้าก็เป็นไปตามนั้น คนที่มาก่อนเพื่อนเป็นคนนุ่งขาวห่มขาวผมขาวมีข้าวขันเดียวและไม่มีกับ มาถึงก็มานั่งใกล้ท่าน คนอื่นมาทีหลัง หลวงพ่อโหน่งก็ปรารภเรื่องปั้นพระประธาน ตาคนนั้นก็บอกว่าแกเป็นช่าง แกรับรองจะปั้นให้ ตกลงกันว่าแกจะไปปั้นให้ แต่ว่าหลวงพ่อโหน่งลืมบอกวัด ลืมบอกว่าท่านอยู่วัดไหน นี่ท่านไม่ได้บอก เมื่อฉันข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วแกก็บอกว่าแกจะตามไป ให้หลวงพ่อโหน่งไปก่อน หลวงพ่อโหน่งก็ถอนกลดเดินกลับวัด แต่พอมาถึงวัดแล้วก็มานึกขึ้นได้ว่า อ้าวตาย .. เราไม่ได้บอกกับนายช่างเขานี่ว่าเราอยู่วัดไหน แล้วก็นายช่างเขาจะมาถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้ แต่ว่าวันนั้นมันก็บ่ายเสียแล้ว ก็คิดว่าถ้านายช่างไม่มาภายใน ๓ วัน หลวงพ่อโหน่งก็จะต้องกลับไปอยุธยาใหม่ ไปปักกลดตรงนั้นอีกแหละ ไปบอกเขาว่าอยู่วัดไหน

ในเมื่อพอวันรุ่งขึ้นก็ปรากฎว่านายช่างมาถึง ไม่ได้บอกวัดก็มาถูกเหมือนกัน มาถึงก็ลงมือปั้นพระ พระองค์นั้นรู้สึกว่าปั้นได้สวยมาก มองดูลักษณะน่าดู เมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ปรากฎว่าช่างหายไป หลวงพ่อโหน่งก็ตกใจว่า เอ๊ะ .. นี่เรามาใช้ให้เขาปั้นพระ นี่ควรให้ค่าจ้างเขา นี่ค่าจ้างก็ยังไม่ทันให้ แล้วช่างก็มาหายไปเฉย ๆ มาหนีไปเสีย ไม่ได้รับค่าจ้าง มันก็จะเป็นการใช้กันฟรีเกินไป ท่านจะหาที่ไหนไม่พบ ในที่สุดก็ไปใหม่ ออกธุดงค์ไปอีก ไปปักกลดที่หลังวัดประดู่ทรงธรรม ทีนี้พวกชาวบ้านเขาก็มาใส่บาตรกัน แต่ปรากฎว่านายช่างไม่มา ก็ถามชาวบ้านว่ารู้จักตาช่างคนนั้นไหม ชาวบ้านเขาก็บอกว่าไม่รู้จัก เมื่อปีที่แล้วนี้ที่ฉันมาปักกลด มีคนนุ่งขาวห่มขาวมีผมยาว ๆ ถือขันข้าวขันเดียวไม่มีกับ แล้วฉันให้เขาไปปั้นพระ เขาไปปั้นแล้วยังไม่ทันให้ค่าจ้างก็ปรากฎว่าเขาหายมา เข้าใจว่าเขามาบ้าน คนแถวนั้นก็เลยพากันบอกว่า คนนั้นไม่ใช่คนที่นี่ เป็นคนที่อื่น เขาเองเขาก็ไม่รู้จักเหมือนกัน ไม่ทราบว่าเป็นคนที่ไหนมา ก็เห็นเขาวันนั้นวันเดียว วันอื่นก็ไม่เคยเห็น

เป็นอันว่าหลวงพ่อโหน่งไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ช่างคนนั้นเป็นใคร ตอนนี้ก็เห็นจะไม่พยากรณ์นะ แต่ว่าหลวงพ่อปานท่านบอกว่า ช่างคนนั้นไม่ใช่คน แล้วจะเป็นใครก็ตามใจซิ เขาไม่บอกวัดก็ไปถูก ปั้นแล้วก็ไม่เอาสตางค์ หนีเจ้าของงานเปิดฉิบ ไม่เหมือนช่างสมัยนี้นี่ รับเงินไปมากกว่างาน หนีเจ้าของงาน ตาช่างคนนั้นไม่ได้รับเงินแต่ว่าหนีเจ้าของงาน แปลกกันนะ แปลกกันหน่อย แปลกกันตรงนี้

ที่มา: หลวงพ่อปานกับหลวงพ่อโหน่ง จาก คำสอน พระราชพรหมยาน
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

ไปนมัสการหลวงพ่อโหน่ง
จากหนังสือหลวงพ่อธุดงค์


เมื่อท่านบวชยังไม่ได้พรรษาแรก เพิ่งบวช หลวงน้าของท่านอยู่ที่วัดโพธิ์ ท่าเตียนและหลวงน้าของท่านได้เปรียญ 9 ประโยค เป็นเจ้าคุณด้วย เมื่อท่านบวชพระเสร็จอยู่ไม่กี่วันท่านก็เข้าไปหาหลวงน้าท่านที่กรุงเทพฯ หวังจะเรียนหนังสือ หลวงน้าเห็นพระหลานชายมาก็ดีใจมาก จัดห้องจัดหับให้อยู่

ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท่านมีโอกาสก็ถามหลวงน้าว่า หลวงน้าขอรับ หลวงน้าเป็นเปรียญ 9 ประโยค แล้วก็เป็นเจ้าคุณด้วย ตัดกิเลสหมดไหมครับ หลวงน้าฟังแล้วก็ชอบใจ ท่านไม่ตอบ ท่านบอก โหน่ง ลองเข้าไปดูข้างในห้องฉันสิ หลวงพ่อโหน่งก็เข้าไปดู คิดว่าจะมีตำราแต่ไม่มีหรอก มีโต๊ะหมู่ทองบ้าง โต๊ะหมู่มุกบ้าง งาช้างบ้าง เครื่องประดับประดา สวยสดงดงามมาก แล้วท่านก็ออกมา บอก ไม่เห็นมีอะไรครับ เห็นมีโต๊ะหมู่ทองบ้าง โต๊ะมุกบ้าง งาช้างบ้าง เครื่องประดับต่าง ๆ บ้าง

หลวงน้า ก็เลยบอกว่า โหน่ง ที่ฉันให้เข้าไปดู ฉันจะได้บอกให้ทราบว่า ถ้าฉันหมดกิเลสของทั้งหลายเหล่านี้มันไม่มี ถ้ามันมี มันก็ต้องไม่ใช่ของฉัน เป็นของสงฆ์ แต่นี่ฉันยังถือว่าของทั้งหลายเหล่านี้เป็นของฉัน แสดงว่า ฉันได้เปรียญ 9 ก็จริง และเป็นเจ้าคุณก็จริง แต่ว่าฉันไม่ได้เป็นพระอรหันต์ กิเลสไม่ได้หมด หลวงพ่อโหน่งก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นหลวงน้าขอรับ ในเมื่อเรียนถึงเปรียญ 9 ประโยคแล้ว และเป็นเจ้าคุณแล้ว กิเลสไม่หมด ผมก็ไม่เรียนแล้วครับ ผมขอลากลับบ้าน วันรุ่งขึ้นท่านก็เดินทางกลับ (นี่ตามประวัติที่ท่านเล่าให้ฟังย่อ ๆ นะ)

แล้วท่านก็ชี้ไปที่พระอุโบสถ ท่านบอกว่าที่ตรงนี้มันเป็นดงไผ่ แต่เป็นที่โปร่งหน่อยหนึ่ง ฉันก็มานั่งกรรมฐานตรงนี้ ถึงเวลากลางคืนฉันก็มานั่งกรรมฐานที่นี่ ที่วัดนี้มีการเจริญกรรมฐานฉันคนเดียว แล้วผลที่ได้รับจากบรรดาเพื่อนทั้งหลายก็คือว่า ฉันบ้า แต่ว่ากรรมฐานที่ฉันเรียนนี่ ฉันไปเรียนกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ฉันไปเรียนกับหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมยืนยัน บอกว่า การปฏิบัติกรรมฐานกับท่านถึงที่สุดแน่

ฉันก็มาเลือกชัยภูมิ เห็นตรงนี้ เวลาหน้าแล้งจัด ดินที่อื่นแตกเป็นระแหง แต่ที่นี่ชุ่มมีความชื้น แล้วนั่งก็เย็น ฉันเลยถือเป็นที่นั่งเจริญกรรมฐาน เวลานั้นฉันบวชเข้าพรรษาที่ 2 อยู่ในพรรษาที่ 2 แต่ยังไม่ครบพรรษาที่ 2 ฉันนั่ง กรรมฐานไป ตอนกลาง ๆ พรรษาจิตก็เริ่มเป็นสุขขึ้นมาทีละน้อย ๆ ปฏิบัติตามที่หลวงพ่อเนียมสอน

ก็หมายความว่า ก่อนที่จะภาวนา อันดับแรกก็นึกถึงวิปัสสนาอย่างอ่อน คืออนิจัง ทุกขัง อนัตตา ก่อน เห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ของร่างกายของทรัพย์สิน แล้วก็ต่อจากนั้นไป ก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วภาวนา ผลที่ได้ก็คือ อารมณ์เป็นสุข มีจิตสว่างบ้าง มีแสงสว่างบ้าง มืดบ้าง ตามเรื่องตามราวตามธรรมดา แต่ว่าสิ่งที่ต้องการจริง ๆ ก็คือ มีอารมณ์เป็นสุข

มาคืนวันหนึ่ง ตอนกลาง ๆ พรรษา วันนั้นฝนไม่ตก ฉันนั่งกรรมฐานไป เวลาประมาณสัก 2 ทุ่มเศษ เพราะว่าทุ่มกว่า ๆ มืด ฉันก็เริ่มทำแล้ว ปรากฏว่า มีพระสวย มีพระสงฆ์รูปร่างหน้าตาสวยทรวดทรงดี ผิวเหลือง เนื้อกับจีวร เหลืองคล้ายคลึงกัน แต่จีวรเหลืองมากกว่า เนื้อเหลืองน้อยกว่านิดหน่อย มีรัศมีออกจากกาย มาบอกว่า โหน่ง เธอจงสร้างพระอุโบสถตรงนี้นะ เวลานั้นวัดนั้นยังไม่มีพระอุโบสถ ท่านก็กราบเรียนพระว่า กระผมเป็นพระหนุ่มขอรับ บวชยังไม่เต็ม 2 พรรษา เกรงว่าญาติโยมจะไม่เชื่อ และประการที่สองการติดต่อหาซื้อของ ติดต่อหาช่องก็แสนยาก เพราะไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ท่านบอกว่าไม่เป็นไร เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น จะเป็นวันพระให้ประกาศกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่มาทำบุญ บอกว่า อยากจะสร้างโบสถ์ที่ตรงนั้น แล้วก็จะมีคนช่วยตัดไม้นั่งร้านไม้ในป่า มีคนช่วยตัดมา จะมีคนหาทราย มีช่างทำอิฐ แต่ละคนจะต่างคนต่างอาสาทำจนครบ

หลวงพ่อโหน่งท่านก็ประกาศแบบนั้นจริง ๆ วันพระ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไป ท่านบอกว่า ท่านก็เป็นลูกคนจน ไม่ใช่ว่าพ่อแม่เป็นคนมั่งมี เป็นที่เคารพนับถือ หรือเป็นเจ้าบุญนายคุณใคร แต่ว่าประกาศไปเท่านั้น คนนั้นก็รับอาสา คนนี้ก็รับอาสา คนนั้นจะตัดไม้ คนนี้จะทำอิฐหาทราย หาแกลบ ต่างคนต่างทำกันจนเสร็จ เมื่อทำอิฐ ทำทรายเสร็จดี เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างคนต่างช่วยกัน ใครที่เป็นช่างก็ช่วยแนะนำ สร้างพระอุโบสถเสร็จไป 1 หลัง ใช้เวลาเพียง 1 ปีเศษ ๆ พระอุโบสถเสร็จ

ในเมื่อพระอุโบสถเสร็จแล้ว ก็ปรากฏว่า พระประธานยังไม่มี ท่านก็คิดว่า จะปั้นพระประธานแต่ไม่ทราบว่าจะหาช่างที่ไหน ก็ทิ้งไว้ก่อน มีพระพุทธรูปองค์ย่อม ๆ ก็ไปตั้งเป็นประธานเข้าไว้ ก็ปรากฏว่า เวลานั่งกรรมฐานตอนกลางคืน ก็มีพระองค์เดิม ท่านบอกว่า โหน่ง ช่างที่จะปั้นพระประธานมีอยู่นะ อยู่ที่จังหวัดอยุธยา (อาตมาก็ลืมตำบลเสียแล้ว นึกเชื่อไม่ออก ต้องอ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน ตอนนั้นยังนึกออก) ให้ไปปักกลดที่นั้น ตอนเช้าจะมีคนมาก่อนคนอื่นทั้งหมด ถือขันข้าวมา 1 ขัน นุ่งขาวห่มขาว ผมยาว นั่งจะไม่คุยกับใคร นั่งเรียบร้อย ใส่บาตรแล้วก็นั่งเฉยๆ คนนี้แหละเป็นช่างปั้นพระประธาน ให้คุณโหน่ง ติดต่อกับเขา แล้วเขาก็จะรับเอง ให้ไปในลักษณะธุดงค์

ตอนเช้าหลวงพ่อโหน่ง ท่านเชื่ออยู่แล้วนี่ ท่านก็เอา ตกลง เตรียมตัวออกธุดงค์เดินตัดทุ่งไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ปักกลดที่นั่น ถึงตอนเช้าก็มีคนนั้นจริง รูปร่างหน้าตาทรวดทรงดี ผมขาว ผิวเนื้อขาว นุ่งขาวห่มขาวเสร็จ มีขันข้าว มีแต่ข้าวแต่ว่าไม่มีกับ เดินมาเป็นคนแรก มาใส่บาตรพระธุดงค์ แล้วต่อมาญาติโยมทั้งหลายก็มา

เมื่อหลวงพ่อโหน่งฉันเสร็จ ท่านก็หันไปถามว่า โยม คุณโยมเป็นช่างปั้นพระใช่ไหม โยมนั้นก็ตอบว่า ใช่ ท่านก็บอกว่า อาตมาอยากปั้นพระประธานในพระอุโบสถ เพิ่งสร้างพระอุโบสถเสร็จ ยังไม่มีพระประธาน โยมก็รับปากว่า ผมจะทำให้ ทำถวายขอรับ เต็มใจทำถวาย เมื่อคุยกันมา คุยกันไป ก็ลืมบอกตำบลที่อยู่ หลวงพ่อโหน่งก็ลากลับ ถอนกลดเดินทางกลับ เมื่อเดินทางมาระหว่างทาง ก็นึกขึ้นมาในใจว่า เอ๊. เราก็ลืมบอกตำบลที่อยู่ให้โยมไปแล้ว โยมท่านจะมาถูก หรือไม่ถูกก็ไม่ทราบ และเวลาที่นึกได้ก็ใกล้วัดเต็มทีแล้ว เข้าวัดก่อน

ปรากฏว่าตอนเช้า ช่างมาถึงวัดพอดี มาพร้อมกับลูกน้อง รับอาสาทำพระประธานไม่กี่วันนัก ทำพระประธานเสร็จ พระประธานสวยสดงดงาม เรียบร้อย ทรวดทรงดีมาก เป็นที่ถูกใจกันทุกคน

แต่ปรากฎว่า พอทำพระประธานเสร็จ ช่างกับลูกน้องก็เดินทางกลับโดยไม่บอกให้ใครทราบ หลวงพ่อโหน่งก็ไม่ทราบ พระเณรก็ไม่ทราบ หลวงพ่อโหน่งก็ไม่แน่ใจว่า ช่างเขามีลูกน้อง มันต้องใช้เงินใช้ทอง ก็ใช้วิธีการเดินธุดงค์ไปที่เดิม พอไปถึง ชาวบ้านก็มาทำบุญ ก็ถามถึงคน ๆ นั้น ชาวบ้านบอกว่า คน ๆ นั้นไม่ใช่คนแถวนี้ครับ วันนั้นผมเห็นเหมือนกัน ผมไม่รู้จัก ไม่ทราบว่าคนที่ไหน ก็รวมความว่า หลวงพ่อโหน่งท่านก็บอกว่า ช่างที่มาทำ ผมก็เพิ่งรู้ทีหลังว่า นั่นคือ ท่านวิษณุกรรมเทพบุตร เป็นคำสั่งของพระอินทร์ท่าน

ทีนี้สำหรับประวัติหลวงพ่อโหน่งมีอยู่ว่า ท่านไม่เคยเรียนแม้แต่นักธรรมตรี ตั้งใจเจริญกรรมฐานอย่างเดียว แต่ว่าเวลาเช้าบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านก็แบ่งข้าวให้กับโยม ท่านเอาโยมท่านมาเลี้ยงที่วัด เมื่อโยมรับประทานเสร็จ ท่านฉันเสร็จ ท่านก็เทศน์ให้โยมฟัง 1 กัณฑ์ การเทศน์นี่ไม่ต้องการหนังสือ ก็ไปถามหลวงพ่อโหน่งว่า เวลาเทศน์หลวงพ่อเทศน์เรื่องอะไรบ้างครับ ท่านก็บอกว่า สุดแล้วแต่พระท่านให้เทศน์พระให้เทศน์เรื่องอะไร ก็เทศน์อย่างนั้น ท่านดลใจเอง ไม่ต้องนึก ปากก็ว่าไปตามความรู้สึกของใจ

ถ้าเวลาใครไปนิมนต์หลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อโหน่งท่านบอกว่า จะถามพระก่อน พระจะให้ไป หรือไม่ให้ไป ก็จะไป พระไม่ให้ไป รวมความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขึ้น อาศัยพระอย่างเดียว ท่านต้องถามพระก่อน ถ้าพระไม่อนุมัติ ท่านจะไม่ทำเด็ดขาด ก็เลยถามหลวงพ่อขอรับ คำว่า พระ หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช่ไหม ท่านมองหน้า แล้วท่านก็บอกว่า นี่เฉพาะที่คุณนั่งอยู่เวลานี้ไม่มีใครนะ ถ้ามีคนอื่น ฉันจะไม่ตอบ และเวลานี้ก็มีแต่ ท่านอาจารย์ปาน กับเธอทั้ง 3 องค์ พอพูดกันรู้เรื่อง ฉันก็ ยอมรับว่า คำว่า พระ ก็คือ พระพุทธเจ้า ทุกอย่างที่ฉันจะทำ ฉันทำตามพระพุทธเจ้าสั่งทุกอย่าง

ที่มา: ไปนมัสการหลวงพ่อโหน่ง จาก คำสอน พระราชพรหมยาน
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

page3.jpg ที่มา: หนังสือประวัติหลวงพ่อโหน่งอิททสุวรรณโณ วัดอัมพวัน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เล่มละ 50 บาท
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

นอกจากนี้ ทางวัดยังมีสิ่งสำคัญอีกหลายอย่าง

1. ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
2. เจดีย์ที่สร้างคล่อมจอมปลวก ภายในจอมปลวกจะมีสมบัติเก่าอยู่ พวกแหวนทอง
3. เจดีย์ที่สร้างบรรจุร่างกายของโยมเจ๊กลิ่ง โยมอุปถัมภ์อีกคนหนึ่ง
4. พระปรางโบราณ
5. พระนอน
6. สังขารพระอาจารย์ทองใบไม่เน่าเปื่อย แต่หนวดเครายังงอกออกมาปกติ

สันนิฐานว่า สมัยก่อน ขอมครองเมืองแถวนี้
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: เชิญชมพระประธานที่พระวิษณุลงมาสร้างให้หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

Post by tong »

หลวงตาทองใบศิษย์ในหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน.....

ฮือฮา ร่างหลวงตาทองใบ เสีย 21 ปี สังขารไม่เน่าเปื่อยชาวบ้านแห่ขอหวย

วันนี้ (29 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่วัดอัมพวัน หรือวัดหลวงพ่อโหน่ง ในเขตเทศบาลสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีชาวบ้านจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้สังขารของพระครูทองใบ จันโท หรือหลวงตาทองใบ อดีตรักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2534 แต่สังขารของหลวงตากลับไม่เน่าเปื่อย นอกจากนี้ยังมีหนวดเคราจำนวนมากขึ้นที่บนใบหน้า ทั้งที่เวลาผ่านไปนานกว่า 21 ปี แล้ว และมีลูกศิษย์ลูกหาของหลวงตาถูกหวยกันหลายงวดติด สร้างความความอัศจรรย์ใจให้กับผู้ที่ทราบข่าวเป็นอย่างมาก จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าทางวัดได้ตั้งศพของหลวงตาทองใบไว้ในโลงแก้ว ตั้งอยู่ในมณฑปที่ทางวัดสร้างขึ้น
พระครูอินทรสุวรรณคุณ เจ้าอาวาสวัด กล่าวว่า หลวงตาทองใบ เป็นพระที่ปฏิบัติตนตั้งอยู่ในกรอบศีลธรรม เจริญทางธรรมตามแบบอย่าง หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวรรณโณ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ซึ่งได้ประกอบคุณงามความดีมากมายในเพศบรรพชิต โดยหลวงตาทองใบ จะเก่งในด้านเมตตามหานิยม ได้รับการเคารพยกย่อง จากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาผู้ใกล้ชิดว่า เป็นพระปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน

นอกจากนี้หลวงตาทองใบ ได้ชื่อว่า เป็นพระที่ชำนาญการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนมีชื่อเสียงโด่งดังข้ามประเทศ และมีกลุ่มลูกศิษย์ลูกหาที่มีชื่อเสียงในแวดวงชั้นสูง หลายคนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ แม้ว่าจะมรณภาพมานานถึง 21 ปีแล้ว ด้วยโรคชรา โดยทางวัดได้นำสังขารของหลวงตาทองใบ บรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้ อยู่ในมณฑปวัดอัมพวัน แต่กลับพบว่าร่างของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ซึ่งน่าจะมาจากการที่ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แถมยังมีหนวดเคราขึ้นใบหน้า จนเป็นที่อัศจรรย์ใจต่อผู้พบเห็น โดยศิษยานุศิษย์ได้เตรียมจัดทำบุญใหญ่ให้แก่หลวงพ่ออีกครั้ง.
0052.jpg
Post Reply