ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก - คู่มือมนุษย์ พุทธทาสภิกขุ

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก - คู่มือมนุษย์ พุทธทาสภิกขุ

Post by Nadda »

วิปัสสนา คือการปฏิบัติทางจิต เพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้นจนความทุกข์มาครอบงำใจไม่ได้

การพ้นทุกข์ในที่นี่ คือพ้นด้วยอำนาจของการรู้ โดยรู้แจ้งจริงๆว่าไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ หลังจากนั้นสิ่งต่างๆในโลกก็จะไม่มีอิทธิพล นำใจของเราให้รักหรือชังอีกต่อไป เรียกว่าอยู่เหนือวิสัยของชาวโลก เปลี่ยนสถานะเข้าสู่ โลกุตตรภูมิ ง่ายๆคืออยู่เหนือจากเรื่องโลกๆนี้แล้ว

(อารมณ์คล้ายๆกับที่รู้แจ้ง คือรู้และเข้าใจจริงๆแล้วว่า เหล้า บุหรี่ ยาเสพย์ติดน่ะไม่มีประโยชน์อะไรเลย นอกจากมอมเมาให้เคลิบเคลิ้มหลงๆ กริยาท่าทางก็ดูไม่ดี ไม่เป็นที่เคารพ น่าชื่นชม เสียเงิน เสียเวลา มีแต่โทษ พอเข้าใจจริงสิ่งเหล่านี้เลยไม่มีอิทธิพล ถึงแม้จะให้กินให้เสพย์ฟรีๆ ราคาจะขึ้นลงกี่เท่า มีของแปลกใหม่สวยหรูมาล่อหลอก ก็ไม่ได้ทำให้เราดีใจหรือทุกข์ใจกับมัน พูดง่ายๆว่าไม่อยู่ในสมอง หรือสายตาของเราเลย ไม่ทำให้ใจฟูหรือหนักขึ้น แล้วความทุกข์ สุข จากสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร สภาวะนั่นแหละเรียกว่า โลกุตตรภูมิแบบจำลอง ถ้าให้จริงคือรู้สึกเหนือแบบนี้กับทุกสิ่งในโลก)

โลกิยภูมิ คือระดับของจิตที่สิ่งต่างๆในโลกยังมีอิทธิพลเหนือจิตใจอยู่ แบ่งเป็น 3 พวก

1 กามาวจรภูมิ คือจิตที่พอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส เช่น ชอบอาหารอร่อย เสื้อผ้าสวยๆ บ้าน รถ เงิน (ส่วนใหญ่ 99%)
2.รูปาวจรภูมิ คือจิตที่พอใจในการเพ่งรูปเป็นอารมณ์ปกติ นั่งสมาธิเข้าระดับสมาบัติ ตัวแข็งเป็นหิน ไม่ต้องกิน ต้องนอน หยุดระบบหายใจ ระบบร่างกายได้หลายๆวัน มีในกลุ่มพวกพระ ฤาษี (มีในยุคพุทธกาล หาได้น้อยมากในปัจจุบัน)
3.อรูปาวจรภูมิ คือจิตที่พอใจในการเพ่งอรูปเป็นอารมณ์ปกติ สมาธิระดับสูงไม่เอารูปแต่ยังยึดนามธรรมเช่น อากาศ หรือความไม่มีอะไร มีในกลุ่มพวกพระ ฤาษี (มีในยุคพุทธกาล หาได้น้อยมากๆหรือแทบไม่มีในปัจจุบัน)
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก - คู่มือมนุษย์ พุทธทาสภิกขุ

Post by Nadda »

โลกุตตรภูมิ แบ่งเป็น 4 ชั้น ใช้กิเลสในการแบ่งความแตกต่าง มี 10 อย่างเรียกว่า สังโยชน์ (เครื่องผูกพันแน่นหนาให้อยู่ในโลกทั้ง 10 ) เรียงตามลำดับความยากในการตัดหรือละ

1.สักกายทิฏฐิ ความเข้าใจหรือสำคัญผิดว่าร่างกาย จิตใจนี้เป็นของเราจริงๆ เป็นสัญชาตญาณในการรักษาชีวิต ป้องกันตัว ให้แสวงอาหารและสืบพันธุ์ (ลำดับแรกเอาเพียงขั้นหยาบๆคือความเห็นแก่ตัวจัด)

2.วิจิกิจฉา หมายถึงความสังสัยลังเลเพราะไม่รู้จริง ในเรื่องการปฏิบัติว่าจะพ้นทุกข์ได้จริงไหม ดีจริงไหม พระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงหรือเปล่า คนจะหลุดพ้นได้จริงหรือ เช่น คนที่ไม่รู้จักเครื่องซักผ้า มีคนไปเล่าว่ามันมีอยู่จริง ช่วยทุ่นแรงสะดวกมากๆ คนไม่รู้ก็จะสงสัยว่ามันมีอยู่จริงแน่เหรอ คนพูด พูดจริงไหม แล้วถ้ามีจริงมันจะช่วยให้เราสะดวกขึ้นแน่เหรอเป็นต้น

3.สีลัพพัตตปรามาส การหยิบฉวยเอาศีลหรือวัตรมาแบบผิดๆ ด้วยความเชื่อผิดๆ ส่วนใหญ่เป็นพวกลัทธิ ประเพณีต่างๆ เช่น เชื่อพิธีไสยศาสตร์ ของขลัง แก้กรรมต่างๆ หรือ เชื่อว่าสมาทานศีลแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ซึ่งจริงๆแล้วเพื่อขจัดกิเลสอย่างหยาบเพื่อให้เอื้อต่อสมาธิและปัญญาต่อไปเป็นต้น

ถ้าละสังโยชน์ 3 ประการนี้ได้ขาดจริงๆ คือระดับ พระโสดาบัน (ผู้ถึงกระแสแห่งนิพพาน ยังไม่ถึงนิพพาน เพียงแค่ไหลเข้าสู่หนทางย่อมไปถึงแน่ๆไม่หลงทางอีกแล้ว เกิดอีกไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง ยังมีความโลภ โกรธ หลง แต่น้อยมากถ้าเทียบกับคนทั่วไป)

ถ้าละสังโยชน์ 3 + โลภะ โทสะ โมหะ จางลงกว่าโสดาบัน มีเพียงความหงุดหงิดขัดใจ ความรำคาญในใจ ดูภายนอกไม่ออก จิตยังมีความผูกพันเหลืออยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง บ้างแต่น้อยมาก จะกลับมาเกิดในโลกอีกเพียงครั้งเดียว คือระดับ พระสกิทาคามี

4.กามราคะ หรือ การติด ความพอใจ ในรูป รส กลิ่น เสียง
5.ปฏิฆะ เป็นความกระทบกระทั่งแห่งจิตที่รู้สึกไม่พอใจ รำคาญใจ

ถ้าละสังโยชน์ 5 ประการได้ คือระดับ อนาคามี (ผู้ไม่มีการกลับมาอีก จะตรัสรู้บนสวรรค์ชั้นดุสิต)

6.รูปราคะ หมายถึงความรักใคร่ ความพอใจในความสุข ที่เกิดจากรูปสมาบัติ เหมือนพวกโยคี ฤาษี ที่เข้าสมาธิเพ่งรูป เป็นความสุขแบบสงบละเอียด เยือกเย็น คล้ายๆนิพพาน แต่ชั่วคราวเมื่อคลายความสงบก็มีกิเลสเข้ามาได้อีก

7.อรูปราคะ หมายถึงความพอใจติดใจในความสุข ที่เกิดจากอรูปสมาบัติ เหมือนรูปราคะ แต่ละเอียดกว่าคือเพ่งไปที่ความสงบที่ได้จากรูป

8.มานะ ได้แก่ความรู้สึกสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ยังเปรียบเทียบในใจว่าเลวกว่าเขา เสมอเขา หรือดีกว่าเขา เนื่องจากจิตยังแพ้ต่อค่าของความดีความชั่ว ยังหวั่นไหวให้ค่าอยู่

9.อุทธัจจะ แปลว่า ความกระเพื่อม ความฟุ้ง หรือความไม่สงบนิ่ง เช่น รู้สึกกระพือขึ้นเมื่อเห็นสิ่งน่าพอใจ ตรงนี้จะประณีตกว่า เพียงแค่มีความรู้สึกตีกระเพื่อมขึ้นเพียงนิดก็สัมผัสได้ อย่างเวลาเห็นผู้มีศรัทธาทำความดีแล้วรู้สึกทึ่ง พอใจ

10.อวิชชา แปลว่า ภาวะที่ปราศจากความรู้ ในที่นี้ความรู้ หมายถึง ความจริง ความรู้ถูกต้อง
อวิชชาทำให้คนสำคัญผิด เห็นทุกข์ว่าเป็นความสุข จนพอใจวนเวียนอยู่ในกองทุกข์

ถ้าละสังโยชน์ทั้ง 10 ประการได้ คือระดับ พระอรหันต์

พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ

1.ไกลจากกิเลส
2.กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
3.เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
4.เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
5.ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
Post Reply