พระเขี้ยวแก้ว

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

พระเขี้ยวแก้ว

Post by Nadda »

พระเขี้ยวแก้ว คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งมีระบุในมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ ว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้ทราบและเป็นที่ยืนยันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์

พระเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย มีลักษณะรวมกันแน่น โดยคำภีร์อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร ได้กล่าวว่า ส่วนที่ไม่ต้องพระเพลิง (ไม่ไหม้ไฟ) อยู่ 7 องค์ด้วยกัน คือ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ พระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์ และพระนลาฏ(หน้าผาก) 1 องค์

1) พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมกับพระเกศธาตุของพระพุทธองค์ที่ทรงตัดด้วยพระขรรค์คราวเสด็จออกบรรพชาก่อนหน้านี้

2) พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน)

3) พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง

4) พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพบาดาลของพญานาค
15675875_1305146119508765_2448796414796030683_o.jpg
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระเขี้ยวแก้ว

Post by Nadda »

วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

แคนดี มาจากคำว่า kanda เป็นภาษาสิงหล แปลว่า เนินเขา เนื่องจากแคนดี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 ฟุต ชื่อเดิมคือ ศิริวัฒนานคร หรือ สิงหขันธนคร เมืองหลวงเก่าของศรีลังกา

ชาวเมืองสิงหลเรียก “ขันธะ” หมายถึง กองหินหรือภูเขา ต่อมาเมื่ออังกฤษเข้าครองเมือง การเรียกขันธะ จึงออกเสียงสำเนียงตามฝรั่งว่า แคนดิ หรือ แคนดี้

วัดพระเขี้ยวแก้ว ดาลดา มัลลิกาวะ (Dalada Valigawa) เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลังกา พระเขี้ยวแก้วเพียงองค์เดียวที่ปรากฏบนโลกมนุษย์โดยมีหลักฐานรองรับความถูก ต้องตรงตามพระคัมภีร์มหาวังศา ด้วยว่าพระทันตธาตุหลังจากการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ และ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๙ พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินแห่งนี้มาโดยตลอด มิเคยถูกนำออกนอกดินแดนเลยตั้งแต่ถูกอัญเชิญมาจากชมพูทวีปโดยเจ้าหญิงเหมมาลาแห่งแคว้นกาลิงคะเมื่อ กว่า 1,700 ปีก่อนชาวศรีลังกาต่าง ถวายเคารพต่อพระทันตธาตุอย่างสูงสุด โดยเชื่อกันว่าหากเมื่อใดพระเขี้ยวแก้วถูกนำออกนอกเกาะลังกาแล้ว จะนำภัยพิบัติมาสู่ประเทศชาติและยังเชื่อว่าหากเมื่อใดที่เกิดทุกข์ภัยขึ้น การเปิดอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกให้ผู้คนสักการบูชาจะสามารถขจัดเภทภัยต่างๆ ได้

(ประเทศไทยเรา เคยอัญเชิญพระธาตุส่วนพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย) จากศรีลังกา เป็นครั้งแรกของโลก ณ พุทธมณฑล เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง - ราชินี” ฉลองความสัมพันธ์ 60 ปี ไทย - ศรีลังกา ซึ่งปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุได้ประดิษฐานที่ วัดมหิยานกะนะ ราชามหาวิหาร)
15626109_1305147552841955_8801191188380846523_o.jpg
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: พระเขี้ยวแก้ว

Post by Nadda »

นายเดา ชูเรน รองประธานและเลขาธิการใหญ่ พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน เล่าว่า

“พระเขี้ยวแก้วที่อยู่ในเมืองจีน ประชา ชนชาวจีนมักเรียกว่า “พระทันตธาตุฟาเหียน” เพราะ หลวงจีนฟาเหียน ได้อัญเชิญพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) องค์นี้มาสู่จีน มีผู้กล่าวว่า พระทันตธาตุองค์นี้ได้ประดิษฐานครั้งแรกไว้ ที่อาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า อูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน
หลังจากอาณาจักรนี้แล้วก็เคลื่อนย้าย มาอยู่ในแคว้น โคตัน (ทุกวันนี้คือ จังหวัด ไฮเตียน มณฑลซินเกียง) ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ ๕ หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัย ราชวงศ์จี๋ (Qi) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศ จีน ได้เดินทางไปเอาพระทันตธาตุจาก เมืองโคตัน มาไว้ที่ เมืองนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ (ท่านได้ออกเดินทางจาริกไปยัง ประเทศอินเดียและลังกา พ.ศ. ๙๔๒ - ๙๕๗)
หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัย ราชวงศ์ซุ่ย (Sui) พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายมาประดิษฐาน ณ เมืองหลวงใหม่ คือเมืองฉางอัน (ซีอาน) ต่อจากนั้นมา จีนก็ตกอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงวุ่นวาย มีการรบกันภายในประเทศ ระหว่าง กันเองเป็นเวลาถึง ๕ ราชวงศ์

ดังนั้น พระเขี้ยวแก้วได้ถูกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กลับไปกลับมาหลายเมือง จนกระทั่งสุดท้ายได้มาประดิษฐานอยู่ที่ เมืองเยนกิง (คือเมืองปักกิ่ง ในปัจจุบัน) บนภูเขา ซีซัน ในสมัย ราชวงศ์เหลียว ซึ่งอยู่ภาคเหนือของประเทศจีน

จากจดหมายเหตุในสมัย จักรพรรดิเดาซอง ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงศ์เหลียว เล่มที่ ๒๒ บันทึกไว้เกี่ยวกับการประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วไว้ที่ พระเจดีย์เจาเซียน ในเดือนปีที่ ๘ ของปีที่ ๗ ของเหียนย่ง ค.ศ. ๑๐๗๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔) ซึ่งได้บันทึกไว้ในประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่แน่นอน ก่อนที่จะมาประดิษฐาน ณ เมืองปักกิ่ง

ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ (พ.ศ. ๒๔๔๓) พระเจดีย์เจาเซียนได้รับความเสียหายด้วยปืนใหญ่ โดยกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตก ของผู้นิยมลัทธิจักรวรรดินิยม ๘ ประเทศ หลังจากนั้น มีพระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำ ความสะอาดบริเวณรอบพระเจดีย์ แล้วได้พบพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในหีบศิลาอย่างถาวร อยู่ภายในห้องใต้ดินขององค์พระเจดีย์

บนตลับไม้กฤษณานั้นมีการระบุไว้ว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่นี้ในปี ค.ศ. ๙๖๓ (ปี พ.ศ. ๑๕๐๖) โดยพระภิกษุชื่อ ซ่านฮุยในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับการขนานนามว่า “อาจารย์ผู้เก็บความลับ” ตลับไม้กฤษณานี้ได้ รักษามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งด้านข้างและด้านใน กล่องนั้นเป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย ซึ่งในตลับไม้นี้มี พระเขี้ยวแก้ว อยู่ด้านบน

ในที่สุด พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งได้ซ่อนเร้น มาเป็นเวลานานถึง ๘๓๐ ปี ก็ได้ปรากฏขึ้น อีกในโลกมนุษย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญมาให้ประชาชนสักการบูชาที่ วัดกวงจี่ เป็นการชั่วคราว ณ อาคารสรีระ เมืองปักกิ่ง
15591047_1305147696175274_4606073362131329085_o.jpg
Post Reply