การุณยฆาต (Mercy Killing, Euthanasia)

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

การุณยฆาต (Mercy Killing, Euthanasia)

Post by Nadda »

‘การุณยฆาต’ ภาษาอังกฤษเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Mercy Killing ส่วนคำศัพท์อย่างเป็นทางการคือ Euthanasia

ความหมายของการุณยฆาต คือ การกระทำจงใจยุติชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวด การยุติการรักษา หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ การทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยเจตนาโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์

Euthanasia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ประกอบด้วยคำว่า Eu หมายถึง Good และ Thanatos หมายถึง Death แปลรวมความว่า ‘ตายดี ตายสงบ’

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

การการุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน

การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) กระทำโดยการยุติการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง

10 ประเทศที่การุณยฆาตถูกกฏหมาย
Euthanasia-cv-web.jpg ***สวิซเซอร์แลนด์ ***
สำหรับประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ถือเป็นประเทศที่มีกฏหมายอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถจบชีวิตของตัวเองด้วยความช่วยเหลือของแพทย์ ในวิธีแบบเชิงรุก (Active Euthanasia) นับตั้งแต่ปี 1942 ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีสถาบันให้ความช่วยเหลือทางด้านการุณยฆาตสำหรับคนต่างชาติ แต่การกระทำของผู้ป่วยต้องไม่เป็นไปตามความเห็นแก่ตัวและทิ้งภาระต่างๆไว้กับคนที่อยู่เบื้องหลัง

เป็นเพียงชาติเดียวในโลกที่มีศูนย์ช่วยเหลือด้านการฆ่าตัวตายภายใต้การช่วยเหลือทางการแพทย์สำหรับคนต่างชาติ

โดยก่อนการทำการุณยฆาตต้องดำเนินเรื่องราวมายังสถาบัน และได้รับการอนุญาตจากสถาบันอีกทีหนึ่งก่อน เรียกว่า สัญญาณไฟเขียว ต้องได้รับการตรวจสอบจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงญาติพี่น้องต้องได้รับทราบเรื่องดังกล่าวก่อนเป็นสิ่งสำคัญ

กระทำโดยฉีดสารโซเดียวเพนโทบาร์บิทอล (Pentobarbital) หรือในชื่อ เนมบูทอล (Nembutal) เข้าสู่กระแสเลือด โดยมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน

เนเธอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกในโลกที่การุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ได้มีการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการในปี 2545 ทำได้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้เฉพาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะต้องสามารถควบคุมความสามารถทางสติปัญญาได้อย่างเต็มที่เมื่อพวกเขาขอการการุณยฆาตจากแพทย์

ออสเตรเลีย

การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของประเทศออสเตรเลีย แต่เมื่อไม่นานมานี้ รัฐวิกตอเรีย ของออสเตรเลียเท่านั้น ที่ผ่านร่างกฏหมายดังกล่าวในช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน มิถุนายน ปี 2019 ไม่อนุญาตให้มีเจตนายุติชีวิตผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการเสื่อมของระบบประสาทซึ่งอาจมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายปีและจะต้องมีแพทย์ 2 คน ที่พร้อมให้ความเห็นว่าจะตายใน 12 เดือน

แคนาดา

วุฒิสภาแคนาดาออกกฎหมายการุณยฆาต ที่อนุญาตให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจบชีวิตตัวเองโดยอาศัยความช่วยเหลือของแพทย์ได้ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ผลักดันร่างกฎหมายนี้ ตั้งแต่ปี 2016

โดยต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้ป่วยที่รักษาในระยะสุดท้าย เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวเดินทางมาจบชีวิต แคนาดาจึงต้องเป็นผู้ที่มีประกันสุขภาพของแคนาดาเท่านั้น จึงสามารถรับบริการได้

เบลเยียม

เบลเยียมเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตและบังคับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2545 กฎหมายระบุว่าแพทย์และนักจิตวิทยาต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการหากความสามารถของผู้ป่วยมีข้อสงสัย การทำการจบชีวิตด้วยแพทย์ ผู้ป่วยและแพทย์ตัดสินใจร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อยุติชีวิตของผู้ป่วยโดยไม่มีจำกัดอายุขั้นต่ำ สถิติอายุน้อยสุด 9 ปี

โคลัมเบีย

โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ศาลรัฐธรรมนูญโคลัมเบียได้กำหนดว่าต้องเป็นผู้ป่วย”ป่วยหนัก” เป็นบุคคลที่มีภาวะเช่นโรคเอดส์ ไตวายล้มเหลวของมะเร็งตับและภาวะขั้วอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับความทุกข์ทรมานมาก และกฎหมายอนุญาตการุณยฆาตในโคลัมเบียไม่อนุญาตให้มีเจตนายุติชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคความเสื่อมเช่นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น

มีข้อแม้ว่า ผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะต้องไม่เป็นเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายและมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในอาการโคม่า ไม่รู้สึกตัว สมาชิกในครอบครัวหรือผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องถูกบันทึกเสียง ถ่ายวิดีโอหรือเซ็นชื่อในหนังสือแสดงความยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

อินเดีย

อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่การการุณยฆาตเป็นกฎหมาย ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Passive Euthanasia) เท่านั้น กฎหมายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติโดยศาลฎีกาแห่งอินเดียในปีพ. ศ. 2554 การยุติชีวิตในเชิงรุก การเร่งให้เสียชีวิต (Active Euthanasia) ยังเป็นสิ่งผิดกฏหมายในประเทศนี้อยู่

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่สามในสหภาพยุโรปที่การการุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้แพทย์สามารถยุติการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญและแพทย์สองคน

อเมริกา

จำกัดได้เพียง 5 รัฐในอเมริกาเท่านั้นที่กฏหมายอนุญาต ซึ่งเป็นการการุณยฆาตในรูปแบบเชิงรับ Passive Euthanasia เท่านั้น

1.โอเรกอน (Oregon) การจบชีวิตโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ ถูกกฏหมายภายใต้องค์กร Death with Dignity (DWD) ในปี 1997 โดยอนุญาตแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่มีหนทางรักษา โดยต้องมีการทำจดหมายและมีพยานในการกระทำสิ่งนี้ แพทย์ทั้งสองคนต้องเห็นด้วยในโรคและความสามารถในการมีชีวิตของผู้ป่วย

2.วอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่สองต่อจากรัฐโอเรกอนที่อนุญาต กฏหมายในรัฐนี้คล้ายกับรัฐโอเรกอน โดยต้องมีจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โดยมีอายุขัยเฉลี่ยไม่เกิน 6 เดือน

3.มอนตานา (Montana) ในเดือนธันวาคม ปี 2009 ศาลปกครอง อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย โดยแพทย์จะทำการสั่งยา และผู้ป่วยจะเป็นคนจัดการด้วยตนเอง

4.เวอร์มอนต์ (Vermont) ในปี 2013 อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย แต่ต้องมีคำขอร้องจากผู้ป่วยปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ

5.แคลิฟอร์เนีย (California) อนุญาตให้มีการช่วยเหลือโดยแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยการยุติการใช้ชีวิต (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2016) แต่ต้องผู้ป่วยคาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหรือน้อยกว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ป่วยส่งคำขอร้องปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ

ญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฏหมายที่การจบชีวิตเชิงรุก และ แบบเชิงรับถูกกฏหมาย โดยรวมแล้วต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิต หรือ ไม่มีหนทางรักษา ผู้ป่วยต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ ครอบครัว แพทย์ต้องหมดหนทางรักษาอย่างแท้จริง

ในไทยเรามีกฏหมายระบุไว้ตามมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี 2550 ระบุว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

กล่าวคือเราคนไทยมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตจำนงไม่ต้องการรับการรักษาที่เป็นไปเพื่อยื้อชีวิต ซึ่งเข้าข่ายการอนุญาตให้ทำการุณยฆาตเชิงรับ ทว่ามีคนใช้สิทธิเพียงไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมากเป็นเพราะไม่รู้ถึงสิทธินี้ จนในที่สุดได้มีกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์รวมตัวกันยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดให้พิจารณามาตราดังกล่าว โดยระบุว่ามีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อจริยธรรมของแพทย์ที่ต้องช่วยผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถ จนเมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยยืนยันความชอบธรรมของมาตรา 12 นี้ว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ทำให้ ‘สิทธิที่จะตาย’ ถูกปัดฝุ่นขึ้นมาใช้กันอีกครั้ง
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

Re: การุณยฆาต (Mercy Killing, Euthanasia)

Post by Nadda »

องค์กรที่ช่วยเหลือในการทำการุณยฆาต เช่น Exit, Dignitas, Ex International และ lifecircle

Exit และ Dignitas เป็นสององค์กรที่ใหญ่ที่สุด Switzerland. Exit จะให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ที่อยู่อาศัยระยะยาวใน Switzerland ในขณะที่ Dignitas จะช่วยเหลือผู้ป่วยต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาการุณยฆาตที่ Switzerland

ทุกคนจะต้องเริ่มจากการสมัครเป็นสมาชิก กรอกและยื่นเอกสาร สัมภาษณ์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหรือมากกว่านั้น

โดยความต้องการยุติชีวิตนี้จะต้องเป็นไปเพื่อยุติความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน เป็นที่ยอมรับของคนในครอบครัว ไม่ใช่เป็นความเห็นแก่ตัวหรือหลีกหนีหนี้สินภาระต่างๆ

การการุณยฆาตนี้จะให้ผู้ป่วยดื่มยาพิษที่เรียกว่า sodium pentobarbital ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างสูง โดยอาจทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนขณะกลืน และมีโดสสูงพอที่จะหยุดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ

หลังจากดื่มยาไปแล้วประมาณ 20-30 วินาที ผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงและหลับไป

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ราวๆ 7,500 Franc หรือ 238,000 บาท แต่ถ้าต้องการให้ทำพิธีศพด้วยก็จะประมาณ 10,500 Franc หรือ 333,000 บาท
https://www.thelocal.ch/20180503/what-y ... witzerland

http://www.dignitas.ch
2019-03-06_100605.png โบรชัวร์ และ เอกสารยื่นความจำนงค์ informations-broschuere-dignitas-e.pdf
[ 192.18 KiB | Downloaded 493 times ] 2019-03-06_101153.jpg
Post Reply