ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post Reply
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

Ropect cap_5568.gif ยี่ห้อ: Ropect
ตัวยา: Codeine Phosphate 10 mg, Glyceryl Guaiacolate 100 mg
ลักษณะ: แคปซูลนิ่มรูปไข่สีแดง พิมพ์อักษร STAR สีขาวบนแคปซูล
ผู้ผลิต: บริษัท สตาร์แล็บ จำกัด

ยาเสพติดประเภท 3 ห้ามจำหน่ายตามร้านขายยา ยานี้จะไปกดสมองส่วนไอ
ถ้านำไปผสมน้ำอัดลมจะทำให้มึนเมาได้
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง ทานยานี้แล้วอาจจะง่วงนอน
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

ตอนนี้ในร้านยาที่ขายได้และแรงๆ นอกจาก Romilar(Dextro) แล้วยังมี Toclast ทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด กดการไอได้ดีทีเดียว และมี Levopront แบบน้ำ (เป็นอนุพันธุ์ของกลุ่ม Codein ที่ขายได้ในร้านยาแบบถูกกฏหมาย)
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

ยี่ห้อ: Lorsedin
ตัวยา: Loratadine 10 mg

ยาแก้แพ้อากาศ แก้คัน กินแล้วไม่ง่วง รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า



ยี่ห้อ: Maxiphed
ตัวยา: Pseudoephedrine HCL 60 mg

ยาแก้คัดจมูก แน่นจมูก รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า



ยี่ห้อ: Clarinase
ตัวยา: Loratadine 5 mg, Pseudoephedrine 60 mg
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

ยาแก้แพ้ (Antihistamine) มี 3 generations

รุ่นที่ 1 พวก Chlorpheniramine, Triprolidine, Diphenhydramine, Brompheniramine, Hydroxyzine ข้อดีของยากลุ่มนี้คือสามารถลดอาการน้ำมูกไหลที่ไม่ได้เกิดจากการหลั่งของฮีสตามีน สามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ ออกฤทธิ์ผ่านตัวกลางของระบบเลือดและสมอง กินแล้วง่วง ราคาถูก

รุ่นที่ 2 พวก Astemizole, Loratadine, Terfenadine, Mequitazine, Acrivastine, Azelastine, Ebastine, Epinastine ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) ทำให้ได้ผลการรักษาได้ดี แต่จะต้องผ่านขบวนการเมตาโบลิซึ่มที่ตับ จึงออกฤทธิ์ช้า 1-2 ชม กินวันละเม็ด ไม่ง่วง

รุ่นที่ 3 พวก Cetirizine, Fexofenadine แก้ปัญหาจากรุ่นที่ 2 ให้ออกฤทธิ์ได้ทันทีภายใน 15-60 นาที กินวันละ 10 mg เท่านั้น ไม่ง่วง มีราคาแพง

ยาลดการคัดจมูก (Decongestant)

Pseudoephedrine, Phenylephrine

ข้อแนะนำในการใช้ยา

- ยาในรุ่นที่ 1 ให้ระวังในการใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เพราะจะทำให้มีอาการง่วงมากขึ้น ได้แก่ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และพวก Alcohol
- ยาในรุ่นที่ 2 ให้ระวังการใช้ยาร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเมตาโบลิซึ่มของตับ ซึ่งมีผลเสี่ยงต่อการทำงานของหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับกลุ่ม Ketoconazole, Macrolides, Azoles ร่วมไปถึงยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
- ยาในรุ่นที่ 3 เป็นยากลุ่มที่ไม่มีปัญหาเหมือนรุ่น 1 และ 2 แต่จะมีปัญหาในเรื่องราคายาที่มีราคาค่อนข้างสูง

ส่วนใหญ่หมอจะจ่ายยารุ่นที่ 1 + 2 + Pseudoephedrine หรือ 1 + 3 + Pseudoephedrine ให้ทั้งนี้เพราะว่า ยาในรุ่นที่ 1 สามารถลดอาการน้ำมูกไหลที่ไม่ได้เกิดจากการหลั่งของฮีสตามีน สามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ และนิยมกินในตอนกลางคืนจะได้ไม่คันเพราะกินแล้วง่วงหลับไปเลย ออกฤทธิ์ผ่านตัวกลางของระบบเลือดและสมอง


ตัวอย่าง

Actifed [2C 14/2547] = Triprolidine 2.5 mg + Pseudoephedrine 60 mg
Clarinase Repetabs [2C 5/2539(N)] = Loratadine 5 mg + Pseudoephedrine 120 mg
Clarinase 24 [2C 7/2546(N)] = Loratadine 10 mg + Pseudoephedrine 240 mg
Sinufen [2A 97/2534]= Brompheniramine 4 mg + Phenylephrine 10 mg

Decolgen [2A 16/2540] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg
Decolgen Prin [2A 289/2544] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Phenylephrine 10 mg
Decolgen Plus [2A 276/2544] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Pseudoephedrine 30 mg
Decolgen SD = [2A 286/2544] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Pseudoephedrine 60 mg

Tiffy [2A 112/2559] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg (รอตรวจสอบข้อมูล...)
Tiffy [2A 105/2559] = Paracetamol 325 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Phenylephrine 10 mg (รอตรวจสอบข้อมูล...)
Tiffy Dey [2A 3/2552] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Phenylephrine 10 mg
Tiffy Fu [2A 42/2544] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Pseudoephedrine 30 mg
Tiffy Nite [2A 31/2551] = Paracetamol 500 mg + Diphenhydramine 25 mg + Pseudoephedrine 30 mg

Actifed Cold [2C 34/2555] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Phenylephrine 5 mg
Tylenol Cold [2A 144/2548] = Paracetamol 500 mg + Chlorpheniramine 2 mg + Pseudoephedrine 30 mg
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

Hydroxyzine นั้นมีจุดเด่นที่ลดคลื่นไส้ อาเจียน และภาวะวิตกกังวลได้ นอกเหนือจากคุณสมบัติของยาแก้แพ้ทั่วไป ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับจิตใจ ความวิตกกังวลได้เช่นกัน กินแล้วง่วง
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

Cetirizine จัดเป็น Antihistamine Generation ใหม่ล่าสุด (รุ่นที่ 3) ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ที่ผ่านมา (13 ปีที่ผ่านมานี่เอง)

Antihistamine ในกลุ่มนี้มีอะไรดี ๆ กว่า Antihistamine รุ่นที่ 2 (พวก Astemizole, Loratadine, Terfenadine) ตรงที่ยากลุ่ม 2 หลาย ๆ ตัว เป็น Pro-drug (หมายถึง เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาให้เป็น Active Drug (คือเป็นยาที่พร้อมจะออกฤทธิ์ก่อน) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดที่ตับ โดยอาศัยเอนไซม์ Cytochrome P450 ดังนั้นจึงมีปัญหาการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction) กับยาบางตัว เช่น Ketoconazole และ Erythromycin ที่มีคุณสมบัติเป็น Enzyme Inhibitor (ยับยั้งเอนไซม์) คือมันจะยับยั้งการเปลี่ยนแปลงยากลุ่ม 2 ที่ให้ร่วมกันกับมันไปเป็น Active drug ได้น้อยลง ทำให้ระดับยากลุ่มที่ 2 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น มีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ จนบางรายอาจรุนแรงแก่ชีวิตได้

การทำให้มียา Antihistamine กลุ่ม 3 ขึ้นมา จึงพยายามขจัดปัญหาตรงนี้ โดย Cetirizine นั้นเป็น Active Metabolite โดยตรงของ Hydroxyzine หรือ Atarax ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จากข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์พบว่า Cetirizine สามารถออกฤทธิ์ได้หลังจากกินเข้าไป 15-60 นาที ในขณะที่ Loratadine (ยาตัวเก่าที่เคยมี) กว่าจะออกฤทธิ์จะต้องใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง ซึ่งช้ากว่า

ยาตัวนี้มีฤทธิ์เจาะจงต่อ H1-receptor ไม่ผ่าน Blood Brain Barrier ทำให้ไม่มีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการง่วงนอน มึนงง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง แต่นั่นเป็นเพียงทฤษฎี แต่ในความเป็นจริงแล้ว พบว่า ในหลาย ๆ การศึกษา พบอาการข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมค่อนข้างบ่อย แม้จะน้อยกว่า Antihistamine กลุ่มแรก (พวก CPM) ก็ตาม นอกจากนี้ ยานี้ยังมีฤทธิ์ Anticholinergic เล็กน้อย ทำให้เกิดอาการปากแห้ง อ่อนเพลีย ได้บ้าง อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ pharyngitis และ Dizziness เป็นต้น

สำหรับ Drug Interaction ระหว่างยากลุ่ม 3 กับยาอื่น ๆ นั้น จากข้อมูลล่าสุด พบว่ายากลุ่มนี้ไม่มีปัญหา Drug Interaction กับยากลุ่ม Ketoconazole หรือ Erythromycin แต่อย่างใด พบมี Drug Interaction บ้างในระดับเล็กน้อยกับยา Theophylline ที่ยา Theophylline มีผลทำให้การขจัดยา Cetirizine ออกจากร่างกายลดลง 16% จึงมีข้อแนะนำเชิงสันนิษฐานว่า หากเพิ่มขนาดยา Theophylline มากกว่า 400 mg และให้พร้อมกับ Cetirizine อาจเกิดปัญหา Drug Interaction ดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อแนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือปรับขนาดการใช้ยา Theophylline ควบคู่กับ Cetirizine แต่อย่างใด

เมื่อทราบแล้วว่ายาตัวนี้เป็น Active metabolite ของยา Atarax หรือ Hydroxyzine ดังนั้นการเลือกใช้เพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้นย่อมเพียงพอและเหมาะสม หรือบางครั้งการให้ยาที่มีฤทธิ์คล้าย ๆ กันหลายชนิดแต่กินคนละเวลากัน และลดความถี่ของยาชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่นให้ Cetirizine เช้า Atarax ก่อนนอนก็อาจพอให้อภัยได้

เหนือสิ่งอื่นใด เรายังพบการใช้ Antihistamine แบบเกินความจำเป็นอยู่อีกมาก บางรายได้รับทั้ง CPM, Atarax, Cyprohetadine หรือบางกรณีมีการให้ Cetirizine เพิ่มมาอีกตัว หนำซ้ำยังได้ยาทาอีกหลายชนิด เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหา PolyPharmacy ที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ยอมรับการใช้ยาตามแพทย์สั่งหรือเกิดความสับสนในการใช้ยาได้ และจะเป็นผลร้ายหากมีผลกระทบไปยังยาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเป็นประจำอีกด้วย
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศกระทรวงให้ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 ซึ่งมีผลให้สถานพยาบาลและร้านขายยาที่ไม่มีใบอนุญาตให้มียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ไว้ในครอบครองจะต้องจัดส่งยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมทุกตำรับคืนกับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม อีกทั้งกรณีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดปริมาณการ มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 พ.ศ.2555 ซึ่งมีทั้งโทษปรับเป็นเงินและจำคุกด้วยนั้น

เท่ากับว่า ต่อไปนี้...แม้แต่ยาบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ที่จำหน่ายตามร้านขายยา หรือสถานพยาบาล ซึ่งเป็นสูตรผสมพาราเซตามอลก็ไม่มีข้อยกเว้น จะต้องถูกเก็บคืนผู้ผลิตและผู้นำเข้าเช่นกัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มมาตรการควบคุมการใช้และครอบครองยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน เนื่องจากระยะหลังมีการตรวจสอบพบว่ามีขบวนการลักลอบนำยาชนิดดังกล่าวออกจากสถานพยาบาลจำนวนหลายล้านเม็ด และมีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ระบุว่า ยาที่รั่วไหลออกจากสถานพยาบาลบางส่วนถูกนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเป็นยาเสพติด
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

Cetrizin เซทริซิน
Cetrizin.png
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

อยากทราบความแตกต่างของ brompheniramine และ chlorpheniramine และเหตุใดแพทย์เด็กถึงมักสั่ง bmp ให้เด็กมากกว่า cpm

ยา brompheniramine และยา chlorpheniramine เป็นยาแก้แพ้ (antihistamine) ที่อยู่ในกลุ่ม first generation เป็นกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีนที่ผ่านตัวกลางของระบบเลือดและสมองได้ดี จึงมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาทสมองส่วนกลาง ผลคือทำให้เกิดอาการมึนซึม ไม่สดชื่น ง่วงนอน และยังมีอาการไม่พึงประสงค์เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ข้อดีของยากลุ่มนี้คือสามารถลดอาการน้ำมูกไหลได้ในกรณีที่น้ำมูกนั้นไม่ได้เกิดจากการหลั่งของฮีสตามีน และสามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ

จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ brompheniramine และ chlorpheniramine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) ผลที่ได้คือไม่แตกต่าง แต่ผู้ป่วยจะชอบที่จะใช้ chlorpheniramine มากกว่า brompheniramine เนื่องจากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาคือ ง่วงนอนน้อยกว่า

ข้อบ่งใช้ที่ FDA กำหนดในโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้คือ

- ยา brompheniramine maleate อนุญาตให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็ก
- ยา chlorpheniramine maleate อนุญาตให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี

ยา brompheniramine และยา chlorpheniramine จัดเป็นยาในกลุ่มเดียวกัน คือกลุ่ม histamine H1-receptor antagonist ซึ่งมีข้อบ่งใช้หลากหลาย เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น สำหรับการใช้ยากลุ่มนี้ในเด็กนั้น แม้จะสามารถใช้ได้ แต่ควรระวังการใช้ในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กมักไวต่ออาการข้างเคียงจากยามากกว่าผู้ใหญ่ และไม่ควรใช้ยา antihistamine ในทารกแรกคลอด ทั้งที่คลอดครบกำหนดหรือคลอดก่อนกำหนด โดยภาวะพิษจากการได้รับยาเกินขนาด อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในทารกหรือเด็กเล็ก

ยา brompheniramine และ chlorpheniramine เป็นยา antihistamine รุ่นแรก (first generation antihistamine) มีความเหมือนในด้านระยะเวลาในการออกฤทธิ์เท่ากัน (4-6 ชั่วโมง) มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน (sedative effect) และฤทธิ์ anticholinergic effect เท่ากัน ส่วนที่มีความแตกต่างคือ

1. ยา brompheniramine จะมีฤทธิ์ต้าน histamine มากกว่า
2. ยา brompheniramine มีค่าครึ่งชีวิตของการกำจัดยาในเด็กประมาณ 12-34 ชั่วโมง ซึ่งยาวนานกว่ายา chlorpheniramine ที่มีค่าครึ่งชีวิตแค่ 9.6–13.1 ชั่วโมง

ดังนั้นการบริหารยา brompheniramine ในเด็กจึงอาจให้ในความถี่ที่น้อยกว่ายา chlorpheniramine ได้ ส่วนในแง่ของอาการไม่พึงประสงค์และพิษของยากลุ่มนี้ จากการศึกษาพบว่ายา brompheniramine และ chlorpheniramine จับกับ receptors ได้ไม่แตกต่างกัน จึงทำให้ยาทั้งสองชนิดมีอาการไม่พึงประสงค์จากฤทธิ์ anticholinergic effects ที่คล้ายคลึงกัน

สำหรับคำถามที่ว่า “เหตุใดในเด็ก แพทย์จึงมักสั่งจ่าย brompheniramine มากกว่า chlorpheniramine” จากข้อมูลข้างต้นไม่พบความแตกต่างของยาทั้งสองชนิด ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก ดังนั้น หากวิเคราะห์จากข้อมูล อาจเป็นได้จากยา brompheniramine มีค่าครึ่งชีวิตที่ยาวกว่า การใช้ยาอาจใช้ในความถี่ที่น้อยกว่าได้ อย่างไรก็ตาม รายงานการเกิดพิษจากการใช้ยากลุ่มนี้ในเด็กเล็กจนเกิดอันตรายถึงชีวิต มักพบการรายงานจากการใช้ยา brompheniramine ซึ่งอาจเป็นเพราะยา brompheniramine มีการใช้มากกว่า ดังนั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่ายาใดปลอดภัยกว่าเช่นกัน

สรุป

- สามารถลดอาการน้ำมูกไหลได้ในโรคหวัด
- สามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ
- chlorpheniramine ง่วงนอนน้อยกว่า
- brompheniramine มีฤทธิ์ต้าน histamine มากกว่า
- brompheniramine มีค่าครึ่งชีวิตยาวกว่า
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

ยาอมกำกิกเผี่ยง (GUM GIG PEAN)
ยาอม Fisherman's Friend สูตร Aniseed สีเหลืองไข่
ยาชวนป๋วยปี่แปกอ
---------------------------------------------------
อาหารเผ็ดๆ
เบนโตะ
ปลาหมึกเต่าทอง
เลย์
ช็อคโกแลต
ผลไม้จิ้มพริกเกลือ
โจ๊กใส่พริกน้ำส้ม
สุกี้
ส้มตำ
พายสับปะรด
---------------------------------------------------
ยาคูลท์
Schweppes Tonic Water (โซดาผสมควินิน)
น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย (Hale's Blue Boy)
น้ำบ๋วย
น้ำมะขาม
น้ำจับเลี้ยง
น้ำชา
---------------------------------------------------
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ยาลดอาการไอรุนแรง เวลาเป็นไข้หวัด

Post by tong »

ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เฉพาะรุ่นที่ 1 ที่สามารถลดน้ำมูกในโรคหวัดได้

Chlorpheniramine 2 mg - ง่วงน้อย
Brompheniramine 4 mg - ง่วงกลาง
Triprolidine 2.5 mg - ง่วงมาก

ยาลดการคัดจมูก (Decongestant) ลดการขยายตัวของหลอดเลือด

Phenylephrine 10 mg

ตัวอย่าง

Chlorpheniramine 2 mg = หาง่าย
Brompheniramine 4 mg = BROMPHEN, BROMAMINE, BROMPHENIRAMINE, BROMPHERIL
Triprolidine 2.5 mg = TIPO [1A 220/2559] (รอตรวจสอบข้อมูล...)
Phenylephrine 10 mg = ไม่มี

Chlorpheniramine 2 mg + Phenylephrine 10 mg = SULIDINE-CP
Brompheniramine 4 mg + Phenylephrine 10 mg = SINUFEN, AORINYL, DENASAL, BEPENO, DITAPP, BROMLAMINE
Triprolidine 2.5 mg + Phenylephrine 10 mg = ไม่มี
Post Reply