ระยะติดตั้ง มาตรฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post Reply
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

ระยะติดตั้ง มาตรฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

Standard height installation
img122.jpg VRH_PDF_E008-77.png VRH
V-shape
Handrail
Grabbar
ราวทรงตัว
ราวพยุงตัว
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ระยะติดตั้ง มาตราฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

รางทรงตัว
Stainless Steel 304
FBVHC-T790IS
CT-790 OD32MM L600MM
CT-790IS
ราคา 1,190 บาท
img121.jpg P1430395.JPG P1430394.JPG
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ระยะติดตั้ง มาตราฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

รางทรงตัว
Stainless Steel 304
FBVHC-T797BS
CT-797 45degrees OD32MM L300x300MM
CT-797BS
ราคา 1,260 บาท
P1430406.JPG CT797BS.jpg P1430423.JPG
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ระยะติดตั้ง มาตราฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

หัวสกรูเป็นแบบหกเหลี่ยม (Socket Cap Screw)
พุกทองเหลือง (Drop-In Anchor)
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ระยะติดตั้ง มาตราฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

VRH รับประกันราวจับ 99 ปี
VRH มีหลายท่านบอกว่า บริการดีมาก ช่างจะมาบริการถึงที่บ้าน
snap0561.png
tong
Site Admin
Posts: 2387
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ระยะติดตั้ง มาตรฐาน ราวทรงตัว (grabbar) เพื่อการใช้งาน

Post by tong »

เทคนิคการติดราวจับ บริเวณชักโครก

1. ราวจับสแตนเลสแบบด้าน ทำให้เห็นรอยนิ้วมือ-คราบมันง่าย ล้างออกยาก ไม่สวยงาม แนะนำให้ใช้แบบเงา

2. ราวจับสามารถติดตั้งได้ 2 ลักษณะ
- แบบดันตัว เพื่อยกตัวขึ้น จะต้องติดระดับต่ำ
- แบบโหนตัว เพื่อดึงตัวขึ้น จะต้องติดระดับสูงสักหน่อย

3. ในห้องน้ำควรใช้พุกและสกรูแบบสแตนเลส ปลอดสนิม เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตและง่ายต่อการบำรุงรักษา ถอด-ติดตั้ง-ซ่อมแซม จึงควรเสียเวลาไปหาซื้อใหม่ ซึ่งจะดีกว่าใช้ของจากผู้ผลิต

4. ถึงแม้ว่าราวจับ VRH จะมีรูสกรูขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ขยับปรับแต่ง แต่ความจริงแล้วไม่สามารถปรับตำแหน่งได้เลย เนื่องจากเป็นรูโค้งและถูกบังคับด้วยขอบสกรู จึงต้องเจาะรูให้ได้ตำแหน่งที่แม่นยำจริงๆและต้องใช้ความประณีตอย่างมาก

5. เจาะรูยึดพุกดร็อปอิน (Drop-In Anchor) ตอกสลักในหรือขันให้แน่นทีละรู เพราะว่าเมื่อพุกยึดติดแน่นแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเล็กน้อยทำให้เบี้ยวได้ และบางรูอาจจะหลวมทำให้พุกหมุนฟรี ยกตัวอย่างเช่น
- เจาะด้านซ้าย 1 รู แล้วตอกสลักในหรือขันให้แน่น
- ประกอบราวจับให้ได้ระดับ ขันสกรูให้แน่นพอประมาณ
- วาดเครื่องหมายรูเจาะด้านขวา
- ถอดราวจับออก
- เจาะรูด้านขวา แล้วตอกสลักในหรือขันให้แน่น
- ประกอบราวจับให้ได้ระดับ ขันสกรูตัวแรกและตัวที่สองให้แน่นพอประมาณ
- วาดเครื่องหมายรูเจาะที่เหลืออีก 4 รู
- ถอดราวจับออก
- เจาะรูที่เหลือให้แม่นยำ
- ประกอบราวจับ และขันสกรูตามลำดับข้างต้น



วิธีการติดตั้งพุกดร็อปอิน (Drop-In Anchor)
socket cap screw.png พุกดร็อปอิน เป็นพุกที่อาศัยสลักในเป็นตัวดันปลายให้บานออกเพื่อยึดติดกับผนังรู เมื่อดันสลักสุดแล้วพุกจะติดแน่นถาวร แข็งแรง จะไม่สามารถเอาพุกออกมาได้อีกเลย จะต้องเจาะทำลายตัวสลักในทิ้งจึงจะเอาพุกออกมาได้

1. เจาะรูให้ลึกพอดีๆ เพราะว่าจะต้องตอกสลักในเพื่อดันให้บานปลาย ถ้าพลาดเจาะรูลึกเกินไป ตัวพุกจะหลุดเข้าข้างใน ให้อุดด้วยวัตถุที่แข็งๆ

2. การยึดพุกให้แน่นทำได้ 2 วิธี
- กรณีเจาะรูได้ฟิตพอดี พุกไม่สามารถหมุนฟรีได้ ก็ใช้วิธีขันสกรูให้แน่นเพื่อดันสลักในให้สุด แล้วจึงคลายสกรูออกมาเพื่อประกอบราวจับในภายหลัง
- กรณีเจาะรูหลวมไป พุกหมุนฟรี จะต้องใช้วิธีตอกสลักใน อาจใช้สกรูหรือตะปูยาวๆที่มีความอ้วนเล็กกว่าเกลียวใน หรือใช้ไขควงตัดปลาย
drop-in anchor installation.png
Post Reply