ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

สมัยเด็กๆ ป้าเอา Head & Shoulders มาจากอเมริกามาให้ใช้ ซึ่งตอนนั้นถือว่า ไฮโซมาก แชมพูสีออกฟ้าๆเขียวๆ ใช้ไปนานๆดันมีรังแคอ่อนๆซะนิ ตอนหลังป้าประสบอุบัติเหตุไม่ค่อยได้กลับมา ก็เลยอดใช้
01 H&S.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

พอโตขึ้น ต้องขึ้นรถเมล์ไปเรียนนานๆ อากาศร้อน เหงื่อออกมาก คันรอบเอวไปหมด เป็นแผล ต้องเลิกใส่กางเกงในจนถึงปัจจุบันนี้ ได้ไปหาหมอที่ซอยแจ่มจันทร์ เอกมัย แต่เนื่องจากเป็นเด็กอายุประมาณ 14-15 จึงจำรายละเอียดไม่ได้ และไม่ได้สนใจอะไรเลย

อาการคันรอบเอว เป็นๆหายๆ ประกอบกับเป็นสิวด้วย จนกระทั่งเรียนจบ ป.ตรี มาอยู่บ้านก็ยังไม่หาย เพราะที่บ้านก็อากาศร้อน รอยแผลเต็มไปหมด
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ระหว่างที่เรียน ป.ตรี ก็ยังเป็นรังแค ลองใช้แชมพูทุกชนิดแล้วก็ไม่หาย มาจบที่แชมพูเซลซั่น (SelSun) ซึ่งมีตัวยา Selenium Sulfide 2.5% เวลาผ่านไปหลายปี เนื่องจาก SelSun มีราคาแพงจึงได้ลองแชมพูรีจอยส์ใหม่ สูตรขจัดรังแค มีตัวยา Zinc Pyrithione ปรากฎว่ารอบนี้ได้ผล รังแคหาย โดยสลับใช้กับแชมพูเซลซั่นเดือนละ 1-2 ครั้ง
02 SelSun.png 03 rejoice.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ตอนทำงาน มีภาวะเครียดมาก ส่งผลให้สิวขึ้นและมีผิวลอกตามหัวคิ้ว ร่องจมูก จอน ใบหู ถ้าลอกหลุดแล้วก็จะแดงๆนิดหน่อย ก็ไม่ได้สนใจ คิดว่าเป็นรังแค หรือผิวแห้ง เพราะชอบล้างหน้าให้สะอาด แต่ที่แท้แล้วคืออาการของ เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)
04.jpg
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

โรคเซ็บเดิร์ม คืออะไร ?

โรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังที่จริงๆแล้วไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะมันมีสาเหตุๆหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ บางทีก็เรียกโรคเซ็บเดิร์มนี้ว่า โรคต่อมไขมันที่ผิวหนังอักเสบ หรือโรครังแคที่หน้า เพราะโรคนี้จะเกิดจากการที่ผิวหนังของเราเกิดอาการอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ รวมไปถึงเกิดจากความผิดปกติจากการขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย คือร่างกายไม่สามารถขับออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มันฟ้องออกมาในรูปแบบของตุ่มแดงคัน ผิวหนังลอก บางครั้งอาจเกิดเป็นสิวอักเสบร่วมด้วย มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มนี้มีอะไรกันบ้าง

อาการเบื้องต้นของคนเป็นโรคเซ็บเดิร์ม

- ผิวหน้าแห้ง แดง และลอกเป็นขรุยขาวๆ บางครั้งอาจดูเหมือนกรากเกลื้อน เป็นดวงๆ วงๆ
- หน้าเป็นผื่นแดง หรืออาจจะเป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่คล้ายสิวอักเสบ บางครั้งอาจเป็นหนองร่วมด้วย
- มักมีอาการคันร่วมด้วย
- ชอบเป็นๆหายๆ บางคนเป็นเดือนเว้นเดือนก็มี
- เป็นได้หลายที่ทั้ง หน้าผาก แก้ม คิ้ว ร่องจมูก ไรผม หลังหู ที่หัว บางครั้งลามไปถึงคอถึงหน้าอกเลยทีเดียว

สาเหตุของการเกิดโรคเซ็บเดิร์ม

- หน้าแพ้หรือติดสารสเตียรอยด์ หากใครเคยใช้เครื่องสำอางค์ที่ผสมสารสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้หน้าติดสเตีรอยด์ในที่สุด พอหยุดใช้หน้าก็จะเกิดอาการแพ้และเป็นตุ่มแดงขึ้นมาทั่วหน้า ซึ่งจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเซ็บเดิร์มสูงมาก
- กรรมพันธุ์ อันนี้เป็นสาเหตุที่ไม่รู้จะแก้ยังไงเหมือนกัน ก็วงศ์ตระกูลให้มาอ่ะนะ จะไม่รับก็ไม่ได้ ครอบครัวไหนที่มีคนเป็นโรคผิวหนังอักเสบ หรืออาจจะเป็นโรคเซ็บเดิร์มโดยตรง คนที่สืบเชื้อสายมาก็มีโอกาสเป็นโรคเซ็บเดิร์มด้วยเช่นกัน
- เกิดภาวะร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะในเรื่องระบบการขับถ่าย หรือระบบการกำจัดสารพิษของร่างกายผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถขับสารพิษในร่างกายออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นานวันเข้าของเสียสะสมทับถมอยู่ในร่างกายของเรา ไม่รู้จะขับออกไปไหน ก็เลยแสดงออกมาในรูปแบบโรคเซ็บเดิร์มอย่างที่เห็น
- ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ไม่ออกกำลังกาย ร่างกายอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทาน
- ร่างกายขาดวิตามินที่จำเป็น ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุงรักษาร่างกาย
- กินอาหารที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ กินเนื้อเยอะ กินขนมของหวานเยอะ กินผักน้อย
- ชอบดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอกอฮอร์เป็นประจำ
5-1.png 5-2.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

เมื่ออายุประมาณ 36 ปี (2009) ได้ไปหาหมอรักษาอาการคันรอบเอวอีกครั้งที่โรงพยาบาลกรุงเทพ หมอให้ยากินแก้อักเสบ Prednisolone 5mg, ยาแก้แพ้ Zyxel 5mg และยาทา Elomet ซึ่งแผลหายเร็วมาก ก็เลยหนีไม่ได้ไปพบแพทย์อีก พอยาทา Elomet เหลือก็เลยเอามาทาหน้าด้วย ซึ่งก็เป็นๆหายๆอีกเช่นเคยตามสภาวะเหตุปัจจัย ได้ซื้อ Elomet มาทาเองเรื่อยๆ หมดไปหลายหลอดเลย ทาบ้างไม่ทาบ้างตามอาการ
06 BH1.png 07 BH2.png 08 BH3.png 09 Elomet.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

เวลาผ่านไปอีก 5 ปี ประมาณเดือน สิงหาคม 2557 อาการกำเริบหนัก คันตามตัว Elomet เอาไม่อยู่ หน้าแดงเห่อ มีน้ำเหลืองเยิ้มตรงแก้มหูและหน้าผาก แต่ไม่มีผิวลอกตามคิ้ว ร่องจมูกแล้ว
161.png 162.png 163.png 164.png 165.png 166.png ค้นคว้าอ่านตามเน็ทเพื่อหาวิธีรักษาเซ็บเดิร์มเองตามที่หลายคนแนะนำ

1. ลองยาฆ่าเชื้อแบตทีเรีย แบคโตรแบน (Bactroban) ตัวยา มิวไพโรซิน (Mupirocin) 2% ก็ไม่หาย

2. ลองยาฆ่าเชื้อรา ไนโซรัล (Nizoral) ตัวยา คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) 2% ก็ไม่หาย

10 Bactroban.png 11 Nizoral.jpg
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ระหว่างที่อ่านเรื่องแผลพุพอง ก็มีตุ่มน้ำใสๆพุพองขึ้นที่นิ้วโป้งทันที ทาอะไรก็ไม่หาย แถมคันและลามเป็นบริเวณกว้าง ใช้ยาม่วงก็ไม่ได้ผล
11-5.jpg 152 Gentian Violet.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

มีหลายท่านแนะนำให้ใช้ Cetaphil ล้างหน้า ไม่มีฟอง ไม่แสบ สามารถใช้เช็ดล้างหน้าแบบไม่ใช้น้ำได้ ขนาด 118 กรัม ไม่ควรราคาเกิน 185 บาท เคยเจอที่ร้านองค์การเภสัช (GPO) ราคาแค่ 160 บาท
12 Cetaphil.png 12-1 Physiogel.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ระหว่างนี้มีหลายท่านแนะนำให้กินอาหารเสริม น้ำมันอีพนิ่งพริมโรส (Evening Primrose Oil) ประมาณ GLA 240 มิลลิกรัมต่อวัน (ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ) ทานแค่ 2 วันผิวก็นุ่มลื่นเลย รายละเอียดท่านสามารถหาอ่านได้ทั่วไป

แนะนำยี่ห้อ Mega ซึ่งจะมีปริมาณ GLA 100mg ต่อเม็ด มากกว่าของ Blackmores แถมยังมีราคาที่ถูกกว่ามากๆ

Mega ขนาดขวด 100 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 390 บาท
Blackmores ขนาดขวด 60 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 440 บาท
13 EPO Mega 100mg.png 14 EPO_Blackmores.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ยาทาพวกสเตียรอยด์ (Topical Steroids)

ยาทาพวกสเตียรอยด์ มีผู้ทำออกมาขายหลายชนิด เช่น ยาน้ำ ยาครีม ขี้ผึ้ง ยาพ่น ยาสวนทวาร น้ำมันใส่ผม ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาอาจมีตัวยาสเตียรอยด์อย่างเดียวหรืออาจจะมีตัวยาชนิดอื่นผสมด้วย เช่น ยาระบายขุย กำมะถัน ยากดการเจริญของเชื้อ ในขนาดและความแรงต่างๆกัน

บางครั้งยาครีมสเตียรอยด์เมื่อผสมกับยาตัวอื่นๆ จะเหมาะสำหรับใช้ในโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับโรคผิวหนังอีกชนิดหนึ่งก็ได้ แม้ว่ายาพวกสเตียรอยด์จะใช้ได้ดีกับโรคหลายชนิด แต่การเลือกใช้ยาพวกนี้ ก็จะต้องใช้ให้ถูกจุดประสงค์ ว่าโรคผิวหนังในแต่ละคนแตกต่างกันมาก โรคผิวหนังชนิดเดียวกัน และใช้ยาพวกสเตียรอยด์อาจจะดีสำหรับคนไข้คนหนึ่ง แต่อีกหนึ่งใช้ไม่ได้ผลก็ได้

ปัจจุบันเราใช้ยานี้กันบ่อยมากจนกลายเป็นยาครอบจักรวาลในการรักษาโรคผิวหนังคล้ายยาปฏิชีวนะ โรคผิวหนังบางชนิดแม้ว่ายาสเตียรอยด์จะทาแล้วไม่ได้ผล แต่ในระยะ 2-3 วันแรก ถ้าทายานี้ลงไป คนไข้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นอย่างประหลาด เมื่อใช้ไปนานๆ กว่านี้ อาจกลับและเป็นมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้เช่น โรคที่เกิดจากไวรัส แบคทีเรีย

ยาทาสเตียรอยด์ มีฤทธิ์แก้อักเสบ, แก้คัน, ฤทธิ์ปฏิกิริยาภูมิแพ้ และอื่นๆ ยาสเตียรอยด์ที่ผสมตัวยาอื่นๆ จะมีฤทธิ์ของยาที่ผสมอยู่ด้วย ตัวยาสเตียรอยด์ที่มักนำมาใช้มีดังนี้

1. เพรดนิโซโลน (Prednisolone)

2. ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)

3. ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)

4. ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)

5. ฟลูแอนดรีโนโลน (Fluandrenolone)

6. เบตาเมธาโซน (Betamethasone)

7. บีโคลเมธาโซน (Beclomethasone)

ประโยชน์ที่ใช้

โรคที่ใช้สเตียรอยด์แล้วได้ผลดีมี โรคอะโทปิค (Atopic dermatitis) โรคกลากน้ำนม (Pity alba) โรคซีบอร์ริค (Seborrhiec) โรคผื่นคันเรื้อรัง หนังหนา (Lichen simplex cronicus) ผื่นคันอักเสบ (Eczema, เอคซีมา) คัน โรคแพ้จากการสัมผัส (Aller­gic contact dermatitis) โรคคัน หนังแตกที่ขา (Xe­rosis) โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)

ข้อควรระวังในการใช้สเตียรอยด์

1. โรคติดเชื้ออาจจะลุกลามมากขึ้น หรืออาจทำให้เกิดติดเชื้ออื่นๆ

2. เกิดสิว ที่เรียกว่า สเตียรอยด์แอ๊คเน่ (Steroid acne) เป็นแล้วหายยาก

3. เกิดหนังเหี่ยว ย่น เป็นลายแดง (Telengiectasis, Purpura, Atrophy และ Striae)

4. ผื่นคัน (มักเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบของยาส่วนใหญ่แล้ว สเตียรอยด์ที่ใช้กินมีโทษมากกว่าที่ใช้ทา)
14-1 table.png
CLASS 1 - Superpotent
Clobex Lotion/Spray/Shampoo, 0.05%        Clobetasol propionate
Cormax Cream/Solution, 0.05%              Clobetasol propionate
Diprolene Ointment, 0.05%                 Betamethasone dipropionate
Olux E Foam, 0.05%                        Clobetasol propionate
Olux Foam, 0.05%                          Clobetasol propionate
Temovate Cream/Ointment/Solution, 0.05%   Clobetasol propionate
Ultravate Cream/Ointment, 0.05%           Halobetasol propionate
Vanos Cream, 0.1%                         Fluocinonide
Psorcon Ointment, 0.05%                   Diflorasone diacetate
Psorcon E Ointment, 0.05%                 Diflorasone diacetate
Topicort Spray, 0.25%                     Desoximetasone

CLASS 2 - Potent
Diprolene Cream AF, 0.05%                 Betamethasone dipropionate
Elocon Ointment, 0.1%                     Mometasone furoate
Florone Ointment, 0.05%                   Diflorasone diacetate
Halog Ointment/Cream, 0.1%                Halcinonide
Lidex Cream/Gel/Ointment, 0.05%           Fluocinonide
Psorcon Cream, 0.05%                      Diflorasone diacetate
Topicort Cream/Ointment, 0.25%            Desoximetasone
Topicort Gel, 0.05%                       Desoximetasone

CLASS 3 - Upper Mid-Strength
Cutivate Ointment, 0.005%                 Fluticasone propionate
Lidex-E Cream, 0.05%                      Fluocinonide
Luxiq Foam, 0.12%                         Betamethasone valerate

CLASS 4 - Mid-Strength
Cordran Ointment, 0.05%                   Flurandrenolide
Elocon Cream, 0.1%                        Mometasone furoate
Kenalog Cream/Spray, 0.1%                 Triamcinolone acetonide
Synalar Ointment, 0.03%                   Fluocinolone acetonide
Topicort LP Cream, 0.05%                  Desoximetasone
Topicort LP Ointment, 0.05%               Desoximetasone
Westcort Ointment, 0.2%                   Hydrocortisone valerate

CLASS 5 - Lower Mid-Strength
Capex Shampoo, 0.01%                      Fluocinolone acetonide
Cordran Cream/Lotion/Tape, 0.05%          Flurandrenolide
Cutivate Cream/Lotion, 0.05%              Fluticasone propionate
DermAtop Cream, 0.1%                      Prednicarbate
DesOwen Lotion, 0.05%                     Desonide
Locoid Cream/Ointment/Solution, 0.1%      Hydrocortisone
Pandel Cream, 0.1%                        Hydrocortisone
Synalar Cream, 0.03%/0.01%                Fluocinolone acetonide
Westcort Cream, 0.2%                      Hydrocortisone valerate

CLASS 6 - Mild
Aclovate Cream/Ointment, 0.05%            Alclometasone dipropionate
Derma-Smoothe/FS Oil, 0.01%               Fluocinolone acetonide
Desonate Gel, 0.05%                       Desonide
Synalar Cream/Solution, 0.01%             Fluocinolone acetonide
Verdeso Foam, 0.05%                       Desonide

CLASS 7 - Least Potent
Cetacort Lotion, 0.5%/1%                  Hydrocortisone
Cortaid Cream/Spray/Ointment              Hydrocortisone
Hytone Cream/Lotion, 1%/2.5%              Hydrocortisone
Micort-HC Cream, 2%/2.5%                  Hydrocortisone
Nutracort Lotion, 1%/2.5%                 Hydrocortisone
Synacort Cream, 1%/2.5%                   Hydrocortisone
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

กินอาหารเสริมแล้วก็ไม่ได้ผล ดีแค่ผิวนุ่มผิวขาวขึ้นเท่านั้น อาการคัน เป็นแผล และหน้าผื่นแดงคันๆก็ยังเป็นอยู่ ก็เลยลองทายาทาสเตียรอยด์แท้ๆบ้าง ตอนแรกเริ่มจาก เพรดนิโซโลน (Prednisolone) 0.5% แต่ก็ไม่ได้ผล
20 Prednisolone.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

มีหลายคนแนะนำให้ใช้ T.A. Cream ซึ่งเป็นตัวยา ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) 0.1% ก็เลยจัด Aristocort (อลิสโตคอท) 0.02% มาลองบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้ผล
21 Aristocort.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

คราวนี้ลองยาทาสเตียรอยด์กลุ่มเบตาเมธาโซน (Betamethasone) บ้าง ได้ยี่ห้อฟังจิเดอร์ม-บี (Fungiderm-B) มามีตัวยา เบตาเมธาโซน (Betamethasone) 0.1% ผสมตัวยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) 1% ซึ่งเหมาะสำหรับเชื้อราไตรโคไฟตอน (Trichophyton) ซึ่งได้ผลดีมาก แผลหายเร็ว หายคัน ผื่นแดงยุบหายสนิทเลย แต่พอหยุดใช้มันก็กลับมาอีกภายใน 2 อาทิตย์
22 Fungiderm-B.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ด้วยความที่กลัวยาสเตียรอยด์ประกอบกับอยากรู้ว่าเป็นที่เชื้อราไตรโคไฟตอน (Trichophyton) หรือไม่ ก็เลยจัด โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) 1% เดี่ยวๆมาลอง ไปได้ยี่ห้อ คาเนสเทน (Canesten) ...ปรากฎว่าไม่ได้ผลต้องโยนทิ้ง
23 Canesten.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

โรคเซบเดิร์ม โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis)

โรคผิวหนังอักเสบ Seborrheic dermatitis หรือที่มักเรียกกันย่อๆว่า “โรคเซบเดิร์ม (เซ็บเดิร์ม)” เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยทั่วโลก อัตราการเกิดของโรคในประชากรยังไม่ทราบแน่ชัด ประมาณการว่า ผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเซบเดิร์มนั้นมีอยู่ประมาณ 3-5% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก แต่หากนับรวมผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น รังแคบนหนังศีรษะเข้าด้วย อาจมีมากถึง 12-15% ของจำนวนประชากร พบในประชากรเพศชายมากกว่าในเพศหญิง และพบได้บ่อยใน 2 ช่วงวัยคือ ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน และในผู้ใหญ่ช่วงอายุ 40-70 ปี โรคเซบเดิร์มนั้น ไม่ใช่ทั้งโรคติดต่อ หรือโรคทางพันธุกรรม สาเหตุและกลไกของโรคยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนนัก

ปัจจัยที่มีผลให้เกิดโรค

ผิวมัน พบว่าตำแหน่งที่เกิดโรคเซบเดิร์มนั้นอยู่ในตำแหน่งที่มีปริมาณและการทำงานของต่อมไขมันมาก เช่น ซอกจมูก คิ้ว หลังหู และลำตัวส่วนบน จากการศึกษาพบว่าผิวหนังของผู้ที่เป็นเซบเดิร์ม มีปริมาณของไขมันที่เคลือบที่ผิวหนังมากกว่าปกติ และไขมันนั้นยังประกอบด้วยสัดส่วนชนิดของไขมันย่อยที่ต่างสัดส่วนจากสภาพผิวทั่วไป อีกเหตุผลที่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างผิวมันกับโรคเซบเดิร์มคือ อุบัติการณ์ของโรค พบมากในทารกอายุก่อน 3 เดือนที่มีต่อมไขมันโตและทำงานมาก และเริ่มพบอีกครั้งในช่วงวัยรุ่นที่ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น จนอาการเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ช่วงอายุ 40-50 ปี

เชื้อรา Malassezia เป็นเชื้อราชนิดที่ชอบไขมัน ซึ่งพบได้ปกติบนผิวหนังทั่วไปของเรา โดยจากการศึกษาพบว่า การใช้ยากำจัดเชื้อรา สามารถลดอาการของเซบเดิร์มลงได้ดี เชื้อราชนิดนี้จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเกิดเซบเดิร์ม โดยมีข้อนิษฐานว่าเชื้อรา Malassezia นี้ผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยไขมันบนผิวหนัง และกระตุ้นให้เกิดกลไกการอักเสบขึ้น

สาเหตุ/ปัจจัยอื่นๆ ที่พบว่าอาจเพิ่มโอกาสกระตุ้นการการเกิดเซบเดิร์ม แต่ยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด เช่น
- การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น การเกา โดยเฉพาะจนถลอก การขัดถูผิวหนัง โดยเฉพาะที่รุน แรง
- การเปลี่ยนแปลงความชื้นในอากาศ การเปลี่ยนฤดู โดยพบว่าโรคเซบเดิร์ม มักมีอาการแย่ลงในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็น และมีความชื้นในอากาศต่ำ
- ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
- พบอัตราการเกิดเซบเดิร์มเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคพากินสัน หรือผู้ป่วยมีประวัติอุบัติเหตุที่สมอง และมีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์

อนึ่งแม้ว่าจะมีรายงานว่าพบ ยีน/จีน (Gene) ที่ผิดปกติที่น่าจะเป็นสาเหตุของเซบเดิร์ม แต่พบว่าโรคนี้ไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่อย่างใด โรคนี้จึงน่าจะเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัยร่วมกัน ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย

อาการของเซบเดิม

มีได้ตั้งแต่อาการไม่มาก ลักษณะเพียงคันศีรษะ มีรังแค ไปจนถึงอา การรุนแรงที่เป็นผื่นทั่วตัว แต่อาการรุนแรงนั้นพบได้น้อย อย่างไรก็ตามลักษณะของการเกิดผื่นและสะเก็ด มักแตกต่างกันตามแต่ละบริเวณของรอยโรค เช่น
- บริเวณหนังศีรษะ มักพบเป็นอาการคัน มีผื่นแดงได้บ้างแต่ไม่บ่อย มีสะเก็ดเป็นรังแคหนา ซึ่งผื่นแดงมีสะเก็ดพบได้บริเวณไรผม แต่จะไม่ลามเกินไปกว่าไรผม ต่างจากโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นแดงหนา สามารถลามเกินไรผมออกมาที่บริเวณหน้าผากและใบหน้าได้
- บริเวณหลังใบหู พบเป็น ผื่นแดง คันภายในรูหูด้านนอกและด้านหลังหู ผื่นแดงมักมีลักษณะเป็นสะเก็ดมัน
- บริเวณใบหน้าและลำตัว มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่หนาแน่น คือ หัวคิ้ว ระหว่างคิ้วทั้ง 2 ข้าง ซอกจมูก อก ไหล่ ลำตัวส่วนบน ซึ่งจะพบเป็นลักษณะผื่นแดง ขอบชัด มีสะเก็ดสีออกเหลืองและลักษณะเป็นมัน
- บริเวณอื่นที่สามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยนัก เช่น สะดือ รักแร้ ขาหนีบ

ทั้งนี้อาการของโรคมักจะเป็นๆหายๆ ขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นดังได้กล่าวแล้ว เช่น อาการจะกำเริบในหน้าหนาว หรือเมื่อมีความเครียด หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

จุดประสงค์ของการรักษาโรคเซบเดิร์ม

คือการควบคุมอาการ เพราะยังไม่มีการรักษาที่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ ระยะเวลาการกลับเป็นซ้ำแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน โดย ทั่วไปขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/กลไกการเกิดโรค

โดยทั่วไประยะเวลาในการรักษาเมื่อโรคกำเริบอยู่ที่ประมาณ 1-3 สัปดาห์ การรักษาโรคเมื่อเริ่มเป็นแต่ต้น จะช่วยทำให้อาการการกำเริบหายเร็วขึ้น

การใช้ยาต่างๆเพื่อการรักษา จึงใช้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เฉพาะเมื่อโรคกำเริบเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ทั้งนี้เพื่อลดผลข้างเคียงของยาที่ใช้

การเลือกใช้ยาทาหรือยารับประทานนั้น ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ในรายที่เป็นไม่มาก ใช้เพียงยาทา ส่วนในรายที่เป็นมาก กลับเป็นบ่อยๆ และ/หรือดื้อต่อการรักษา อาจพิจารณายารับประทาน หรือการรักษาด้วยการฉายแสงแดด (Sunlight) ร่วมด้วย

ยาที่ใช้ในการรักษาเซบเดิร์ม

เซบเดิร์มที่หนังศีรษะ ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Selenium sulfide 2.5%, Ketoconazole 2%, Tar, และ/หรือ Zinc pyrithione เพื่อลดรังแค ใช้สระผมทุกวัน หรือวันเว้นวัน ขึ้นกับปริมาณรังแค ขณะสระให้ฟอกแชมพูทิ้งไว้ 5-10 นาทีจึงล้างออก ในช่วงที่โรคสงบ อาจลดการสระแชมพูยาลงเหลือเพียงสองครั้งต่อสัปดาห์สลับกับแชมพูทั่วไปได้ (แนะนำให้ใช้เป็นแชมพูสูตรขจัดรังแค) หากมีสะเก็ดติดแน่นที่ศีรษะ ให้หมักผมด้วย Baby oil สวมหมวกพลาสติกหรือใช้ โพก/Wrap คลุมทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วสระออกเพื่อให้สะเก็ดหลุดลอกออกได้ง่ายขึ้น

สำหรับผื่นแดงอักเสบที่ศีรษะ ใช้เป็นยาสเตียรอยด์เข้มข้น เช่น ยา Clobetasol หยอดเฉพาะบริเวณรอยโรคที่หนังศีรษะเช้า-เย็น จนรอยโรคหายคือ 1-3 สัปดาห์โดยประมาณ และหลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์จัดแต่งทรงผม เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ

เซบเดิร์มบริเวณใบหน้า ในช่วงที่โรคกำเริบ สามารถใช้แชมพู 2% Ketoconazole shampoo ล้างหน้าแทนสบู่ล้างหน้า หลังล้างหน้า หากมีผิวแห้งให้ทามอสเจอไรเซอร์ (Mois turizer) ให้ความชุ่มชื้นด้วย

ในช่วงที่โรคสงบในคนที่ไม่ได้แต่งหน้า ให้ใช้น้ำเปล่าล้างหน้าก็เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ครีมโกนหนวด ครีมหลังโกนหนวด (After shave) และโทนเนอร์ (Toner)

ผื่นแดง ขุย สะเก็ด ให้ใช้ทายาทาฆ่าเชื้อรา 2% Ketoconazole cream ใช้ทาเช้าเย็นบริเวณรอยโรค ซึ่งอาจพบอาการระคายเคืองได้บ้างแต่ไม่มาก ใช้ทาประมาณ 4 สัปดาห์หรือจนกว่ารอยโรคหาย และอาจเพิ่มยาทาสเตียรอยด์ ซึ่งแนะนำให้ใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ จนรอยโรคหาย เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน เช่น เกิดหลอดเลือดฝอยบนผิวหนัง ผิวหนังบาง และ/หรือ สิว ใช้ทาเช้า-เย็น โดยทาเพียงบางๆ โดยบริเวณใบหน้าใช้เป็นชนิด 1% Hydrocortisone

เซบเดิร์มบริเวณลำตัว ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Selenium sulfide หรือ Ketocona zole ฟอกแทนสบู่ โดยฟอกทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก หลังอาบน้ำถ้ามีผิวแห้ง ให้ใช้ มอสเจอร์ไรเซอร์ ทาให้ความชุ่มชื้น

ผื่นแดง ขุย สะเก็ดอักเสบ ให้ใช้ยาทาสเตียรอยด์ความเข้มข้นปานกลางเช่น Beta methadone ทาบางๆ เช้า-เย็น ใช้ยาในช่วงเวลาสั้นๆ จนรอยโรคหาย

ยาทาในกลุ่ม Calcineurin inhibitor เช่น Tacrolimus และ Pimecrolimus มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวหนัง สามารถใช้ทดแทนยาเสตียรอยด์ เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน แต่ราคาสูงเมื่อเทียบกับยาทาสเตียรอยด์ นอกจากนี้ Tacrolimus ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราด้วย ใช้ทาที่รอยโรคเช้า-เย็น ซึ่งอาจมีการระคายเคืองผิวหนังจากยาได้

อนึ่ง การรักษาในรายที่อาการเป็นมาก หรือดื้อต่อการรักษาวิธีทั่วไป ควรพิจารณาและควบคุมการใช้ยาโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา ซึ่งแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้แก่

1. ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน ขนาดของยาและระยะเวลาการรักษาแตกต่างกันตามชนิดยา แต่ยังไม่มีการกำหนดเป็นการรักษามาตรฐานขึ้น ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อยในประเทศไทยที่มีการศึกษาว่าได้ผลในการรักษาโรคเซบเดิร์ม เช่น

ยา Ketoconazole ขนาด 200 mg ทานหลังอาหารทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ตับอักเสบ จึงงดการดื่มสุราในช่วงที่รับประทานยา และต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องรับประทานยาอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interaction)

ยา Itraconazole มีราคาสูงกว่ายา Ketoconazole แต่โอกาสการเกิดตับอักเสบน้อยกว่า รับประทานขนาด 200 mg หลังอาหารเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องรับประทานยาอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interaction) เช่นกัน

2. อนุพันธ์ของวิตามินเอชนิดรับประทาน (Isotretinoin) ในขนาดต่ำ เช่น 10 มิลิกรัม วันเว้นวัน หลังอาหาร เป็นเวลา 3-4 เดือน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปากแห้ง ผิวแห้ง หญิงวัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องได้รับการคุมกำเนิดระหว่างใช้ยาและหลังหยุดยา 1 เดือนอย่างเคร่งครัด เพราะยาอาจก่อให้เกิดความพิการของทารกได้

3. การรักษาโดยการฉายแสงแดด Narrow band ultraviolet B โดยรับการฉายแสงแดดสัปดาห์ละ 3 ครั้งจนรอยโรคหมดไป ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

Protopic® และ Elidel® เป็นชื่อของยาทาแก้แพ้ตัวใหม่ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แต่เรามักจะเลือกใช้ในคนไข้ที่ไม่สามารถทนหรือไม่ตอบสนองต่อยาทาแก้แพ้ในกลุ่มสเตียรอยด์นั่นเอง
24 Protopic.png 25 Elidel.png Protopic มีตัวยาออกฤทธิ์ที่ชื่อว่า Tacrolimus monohydrate รูปแบบยาในหลอดเป็นยาขี้ผึ้ง Oinments ที่มีความเข้มข้น 2 ขนาด คือ 0.03 % และ 0.1 % เราเลือกใช้ยานี้ในการรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ระดับความรุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงสูงได้อย่างดี ใช้ได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แต่เรามักให้เลือกใช้สำหรับเด็กที่ขนาดความเข้มข้นต่ำๆ

Elidel มีตัวยาชื่อว่า Pimecrolimus ความเข้มข้น 1 % ลักษณะยาจะเป็นแบบครีม สามารถใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเช่นกัน แต่ที่ระดับอักเสบรุนแรงต่ำจนถึงปานกลางสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก

ปลอดภัยกว่ายาสเตียรอยด์ จริงไหม?
หากทาใช้ไปแล้วมักจะเห็นผลบรรเทาอาการแพ้ต่างๆได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ในกรณีที่ใช้ยานี้นานไปถึง 6 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบกลับไปหาแพทย์ จากรายงานปัจจุบันผลการใช้อย่างยาวนานยังไม่มีผลข้างเคียงแบบยาทากลุ่มสเตียรอยด์แต่อย่างใด อย่างไรก้อตามทั้งคู่ยังเป็นยาใหม่ ซึ่งยังคงต้องติดตามผลความปลอดภัยเมื่อใช้ต่อเนื่องยาวนานต่อไป แต่ยาทั้งคู่มีราคาสูงอยู่หากจะเลือกใช้ก้อแนะนำให้พอเหมาะกับกำลังทรัพย์หรือเทียบกับความคุ้มค่าในการใช้ยาตัวนี้เทียบกับยารุ่นแรกๆ หรือในรายที่มีความจำเป็น เช่นผู้ป่วยบางรายที่มีอาการผื่นแพ้รุนแรงแล้วใช้สเตียรอยด์ไม่ได้ผล

แต่มีหลายคนบอกเหมือนกันว่ายา Protopic กับ Elidel มีเอฟเฟคค่อนข้างแรง ถึงไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ตาม
http://www.drugs.com/sfx/protopic-side-effects.html

(พวกนี้ยังไม่ได้ลอง เพราะราคาแพงมาก ให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเฉยๆ)
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

เช่นเดียวกันกับทุกครั้ง อ่านมากก็รู้มาก มีคนแนะนำ พลูจีนอล (Plugenol) ยาทาแก้คันอีกแล้ว คราวนี้เป็นขององค์การเภสัช (GPO) หาซื้อทั่วไปไม่ได้เพราะไม่มีใครขายยาของ GPO กันเลยแปลกจริงๆ ต้องซื้อที่ร้านสาขาของ GPO เท่านั้น

หลอดละ 80 บาท ประกอบด้วยน้ำมันพลู 4% มีกลิ่นฉุนแรงมาก ไม่ควรทาแล้วออกนอกบ้านไปพบผู้คน กลิ่นจะคล้ายๆเสื้อเหม็นอับหรือฉี่ และถ้าโดนแผลจะแสบมาก

ใบพลู ใช้รักษาโรคผิวหนัง มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาสตีรอยด์

สารออกฤทธิ์หลายชนิดที่อยู่ในใบของพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยสมัยก่อนรู้จักเป็นอย่างดี มีสรรพคุณใช้รักษาโรคผิวหนังได้อย่างกว้างขวาง คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน การอักเสบหรือคันจากการแพ้ฝุ่น สารเคมี แมลงกัดต่อยหรือลมพิษ รวมทั้งโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (chronic dermatitis) ซึ่งแพทย์ไทยได้วิจัยผลการรักษาแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาทาสตีรอยด์ เราจึงสามารถหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนที่อันตรายจากการใช้ยาทาสตีรอยด์ได้ เภสัชกรไทยนำสารออกฤทธิ์นั้นมาเตรียมในรูปของ เจล (gel) ใช้สำหรับทา จึงมีประโยชน์สำหรับคนไทยที่ต้องเผชิญกับสภาพดิน ฟ้า อากาศร้อนชื้น ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มของอาการแพ้คันจากเชื้อรา และการอักเสบเรื้อรังเป็นอย่างยิ่ง สมุนไพรที่น่ารู้และน่าใช้นี้คือ "ใบพลู"

มารู้จัก "พลู" กันดีกว่า : คนโบราณใช้กิน เมื่อนำมาใช้ทาจึงไม่มีพิษใดๆ

พลู (Piper betle Linn.) เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักและคุ้นเคยกันมานาน คนสมัยก่อนมักใช้กินกับหมาก เพราะเชื่อว่าช่วยให้สุขภาพของเหงือกและฟันดี มีรสเผ็ดและ ขมปนหวาน มีกลิ่นหอมร้อน ในประเทศอินเดียนิยมใช้เป็นยาขับลม ยาบำรุงทั่วไปและเป็นยาระบายอ่อนๆ น้ำคั้นจากใบสดใช้กินเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง และใช้ทำเป็นยาน้ำอมกลั้วคอช่วยบรรเทาอาการไอได้ ส่วนน้ำมันระเหยจากใบพลูอยู่ร้อยละ 0.76 - 2.6 มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่ก่อให้เกิดกลาก เกลื้อน รวมถึงการติดเชื้อ ฝี หนอง สิว และแผลอักเสบอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถรักษาอาการคัน ในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ด้วย โดยนำใบสดตำผสมเหล้าโรง คั้นเอาน้ำทาแก้ลมพิษตรงบริเวณที่คัน และใช้รักษาโรคกลากและแผลอักเสบ เช่น ฝีหนอง และสิว

แพทย์ไทยพิสูจน์แล้วใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Chronic Dermatitis) ได้จริงเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน จากการวิจัยของ นพ.สมคิด วงศ์ศิริอำนวย โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังของเจลพลู 4% ดีกว่าคาลาไมน์โลชั่น 0.1% และได้ผลใกล้เคียงกับเบตาเมทาโซนครีม (สตีรอยด์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทดสอบในผู้ป่วย 75 ราย

เภสัชกรไทยศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ความคงตัวของน้ำมันพลูและฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา

เภสัชกรหญิงนันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกุล และคณะจากสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม ได้ทำการศึกษาพบว่าในน้ำมันพลู มีสารสำคัญ คือ ยูจินอล (Eugenol) และชาวิคอล (Chavicol) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา และเป็นยาทาเฉพาะที่ช่วยลดอาการคันได้

ข้อเสียหรือผลแทรกซ้อนของยาสตีรอยด์เบตาเมทาโซน

เนื่องจากเบตาเมทาโซนรวมทั้งสตีรอยด์ชนิดอื่นๆ หากใช้ทาปริมาณมากๆ หรือทาบริเวณกว้าง หรือใช้นานๆ หรือเมื่อมีบาดแผลตัวยาจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนมากมาย คือ ผลแทรกซ้อนเฉพาะที่่เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบของขุมขน (folliculitis), ผมหรือขนงอกมากกว่าปกติ (hypertrichosis), สิว (acneiform), เม็ดสีของผิวลดลง (hypopigmentation), ผิวเปื่อย (dermal maceration), การติดเชื้อ (secondary infection), ผิวบางลง (skin atrophy), ผิวด่างขาว, เกิดรอยย่นของแผลบนผิว (striae), เกิดตุ่มเล็กๆ บนผิวหนัง (miliaria) ผลแทรกซ้อนทั่วร่างกายอาจพบผลกระทบต่อความสมดุลของระบบฮอร์โมน เนื่องจากการดูดซึม corticoid ทางผิวหนังในทารกและ เด็กอ่อน การดูดซึมยาทางผิวหนังจะเพิ่มขึ้น และอาจรบกวนการเจริญเติบโตเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน

เภสัชกรไทยนำคุณค่าของใบพลูมาผลิตในรูปแบบเจล สะดวกใช้คุ้มค่า

องค์การเภสัชกรรมและบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด ทำการสกัดน้ำมันจากใบพลูเขียวแล้วผ่านขั้นตอนการผลิตตามมาตรฐาน GMP ในรูปแบบเจล ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ "พลูจีนอล (Plugenol)" ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่ลำตัว ขาหนีบ น้ำกัดเท้า การอักเสบ หรือคันจากการแพ้ฝุ่น สารเคมี แมลงกัดต่อย หรือลมพิษ นอกจากสามารถหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากการใช้ยาสตีรอยด์แล้ว ยังมีสรรพคุณยับยั้งเชื้อราได้อีกด้วย เหมือนได้ 1 แถมอีก 1 คือ ได้ทั้งยาแก้แพ้คันอักเสบและยารักษาเชื้อรา จึงเป็นยาประจำบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของเมืองไทยจริงๆ สมุนไพรไทย น่าใช้อะไรอย่างนี้!
26 พลูจีนอล Plugenol.png (ลองแล้วไม่ได้ผล ลดคันไม่ได้ แถมเหนียวๆ มีกลิ่นแรง แสบ ไม่แนะนำให้ใช้)
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

ยาทาแก้แพ้ กลุ่มแอนตี้ฮีสตามิน (Antihistamine) และสูตรผสม ได้แก่

1. Chlorphenoxamine (Systral Cream) เนื้อครีมสีขาวนวล กลิ่นหอมๆ

2. Dimethidine (Fenistil Gel) เป็นเจลใสๆ ทาเย็นๆ

3. Calamine Lotion มีตัวยาหลักเป็น Diphenhydramine ให้ผลแก้แพ้ และยังผสมเนื้อแป้งสีชมพูของ Zinc Oxide ผสมกับ Ferrous Oxide เพื่อดูดซับเหงื่อและความชื้น ทาแล้วเย็นๆดี
27 Systral.jpg 28 Fenistil.png (พวกนี้ยังไม่ได้ลอง เพราะหาซื้อยาก ให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเฉยๆ)
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

โรคผื่นแพ้สัมผัส (Atopic Dermatitis)

การรักษาที่จะช่วยให้สบายตัวได้ก้อคือบรรเทาผิวหนังที่อักเสบให้กลับมาเป็นผิวหนังที่มีสุขภาพดีดังเดิม และป้องกันการเห่อซ้ำของผื่นแพ้สัมผัสเท่านั้น และหากพบว่ายังมีอาการของผื่นแพ้เกิดขึ้น เราจะเลือกใช้ยาตามลักษณะของผื่นผิวหนังอักเสบที่พบ ดังนี้คือ

1. ลดการระคายเคืองผิวหนัง โดยให้โลชั่น ครีมหรือออยเม้นท์ช่วยเคลือบผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ชโลมทาผิวหนังบ่อยๆ หรือทาทันทีหลังอาบน้ำหรือหลังแช่ในอ่างน้ำ 15-20 นาที โดยทาภายใน 3 นาที ก่อนที่น้ำที่ผิวจะระเหย

2. ลักษณะการอักเสบของผิวหนังแบบเฉียบพลัน มีน้ำเหลืองไหลซึมออกมาจากรอยผื่น จะรักษาโดยใช้น้ำเกลือ (แบบเดียวกับน้ำเกลือล้างจมูก) ประคบแผลไปเรื่อยๆ จนกว่าการไหลซึมของน้ำเหลืองจะแห้งลงๆ

3. หากพบการอักเสบของผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นแดง เป็นขุย คันมากๆ ก้ออาจพบร่องรอยจากการแกะเการ่วมด้วย ระยะนี้จะเริ่มการรักษาโดยใช้ยาทาไปก่อนถ้าอาการไม่ดีขึ้นเราจึงให้ยากินควบคู่ไปด้วย

3.1 ยาทาแก้แพ้ กลุ่มแอนตี้ฮีสตามิน (Antihistamine) และสูตรผสม

3.1.1 Chlorphenoxamine (Systral Cream) เนื้อครีมสีขาวนวล กลิ่นหอมๆ
3.1.2 Dimethidine (Fenistil Gel) เป็นเจลใสๆ ทาเย็นๆ
3.1.3 Calamine Lotion มีตัวยาหลักเป็น Diphenhydramine ให้ผลแก้แพ้ และยังผสมเนื้อแป้งสีชมพูของ Zinc Oxide ผสมกับ Ferrous Oxide เพื่อดูดซับเหงื่อและความชื้น ทาแล้วเย็นๆดี

3.2 ยาทากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) มีหลากรูปแบบทั้งลักษณะเป็นครีม, ขี้ผึ้ง, ยาน้ำ และชนิดพ่นเป็นละอองฝอย ยาเหล่านี้มีฤทธิ์แรงต่างกัน โดยเภสัชกรหรือแพทย์จะเลือกชนิดและความแรงของยา ให้เหมาะสมกับลักษณะและตำแหน่งของผื่นแพ้ ไม่ควรซื้อยานี้จากร้านขายยาเอง เพราะมีผลแทรกซ้อนจากการใช้ยาสตีรอยด์มากมายหลายประการ ยากลุ่มนี้ได้ได้แก่

3.2.1 Triamcinoloe cream
3.2.2 Betamethasone cream

3.3 ยาทากลุ่มใหม่ๆ ปัจจุบันมียากลุ่ม Calcinurin inhibitors ทดแทนยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ต้องทายาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานๆ แต่ราคายายังค่อนข้างสูง จึงพิจารณาเลือกใช้เป็นรายๆ ยากลุ่มนี้ได้แก่

3.3.1 Pimecrolimus (Elidel)
3.3.2 Tacrolimus (Protopic )

4. ยากินเพื่อบรรเทาอาการคัน กลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ซึ่งมีหลายตัวเหลือเกิน

4.1 ยารุ่นดั้งเดิม ให้ผลการรักษาลดผื่นคันได้ดี แต่ต้องระวังผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงซึม และยังมีอาการไม่พึงประสงค์เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ยากลุ่มนี้ได้แก่ Chlopheniramine , Diphenhydramine (Benadryl) , Hydroxyzine (Atarax) 10-25 มก.ทุก 6-8 ชม.

4.2 ยาแอนตี้ฮิสตามีนรุ่นใหม่ กินแล้วไม่ค่อยง่วงซึม ได้แก่ Cetirizine (Zyrtec), Levocetirizine (Xyzal), Fexofenadine (Telfast), Loratadine (Claritin) เป็นต้น

ควรให้ความระมัดระวังในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลผิวหนัง เมื่อผื่นเป็นมากไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานหรือซื้อยาใช้เอง เพราะการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้มีผลข้างเคียงอื่นที่เป็นอันตรายตามมาได้
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

เนื่องจาก Cetaphil ราคาแพงมาก จึงลองซื้อ Eucerin pH5 มาใช้

Eucerin pH5 WashLotion ใช้ล้างหน้าแล้วแสบ เลยใช้อาบน้ำอย่างเดียว จะทิ้งคราบลื่นๆไว้ คงต้องล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าหรือใช้ Cetaphil ต่อไป

Eucerin pH5 Lotion ไม่แนะนำให้ซื้อ เพราะเหนียวเนอะมาก ยิ่งจะทำให้เป็นโรคจิตคันมากขึ้นกว่าเดิม ราคาก็แพง ตั้งทิ้งไว้ไม่มีใครใช้เลย

Eucerin pH5 WashLotion ขนาดขวด 400ml ราคาไม่ควรเกิน 298 บาท
Eucerin pH5 Lotion ขนาดขวด 400ml ราคาไม่ควรเกิน 400 บาท
31 Eucerin.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

หลังจากหยุดทายา เบตาเมธาโซน (Betamethasone valerate) 0.1% อาการคันตามตัวและผื่นขึ้นหน้าแดงบวมก็กลับมาอีก ทนไม่ไหวกับแนวทางการรักษาด้วยอินเตอร์เน็ท จึงได้ไปหาหมอที่โรงพยาบาลดีกว่า

---------------------- ครั้งที่ 1 ------------------------

หมอฉีดยา
- เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) 4 mg/ml

ยากิน
- ยาแก้อักเสบติดเชื้อ Romed (Roxithromycin) ชนิดเม็ด 150 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า-เย็น (7 วัน)
- ยาสเตียรอยด์ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ชนิดเม็ด 5 mg ครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหาร เช้า-เย็น (7 วัน)
- ยาแก้แพ้แก้คัน เซทิไรซีน (Cetirizine) ชนิดเม็ด 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน (7 วัน)

ยาทาหน้า สูตรผสม ทาตอนเช้าและก่อนนอน (7 วัน)
- Dermovate (Clobetasol propionate) 0.05% 5g
- Taraten (Clotrimazole) 1% 5g

ยาทาตัว สูตรผสม ทาตอนเช้าและก่อนนอน (7 วัน)
- Clobetate (Clobetasol propionate) 0.05% 15g
- Diabederm (Urea) 10% 35g

------------- นัดอีก 7 วัน ให้มาพบหมอ --------------
51.png 52.png
คำตอบจากเภสัชกร ภญ. ลักขณา สุวรรณน้อย

ยา Erythromycin และ Roxithromycin จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่ม Macrolide เช่นเดียวกัน การออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของยาทั้งสองมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีข้อแตกต่างกันในทางคุณสมบัติและโครงสร้างของยา โดยยา Erythromycin มีความสามารถในการทนกรดได้ต่ำ รวมทั้งการรับประทานอาหารจะมีผลรบกวนการดูดซึมของยา ทำให้ระดับยาลดลงได้ ดังนั้นหากมีการรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว โดยปกติร่างกายจะมีการกระตุ้นการหลั่งกรดให้มากขึ้น เพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร ดังนั้นหากรับประทานยา Erythromycin หลังอาหาร จึงทำให้ยามีโอกาสสัมผัสกับกรดได้มากขึ้น ยาก็จะถูกทำลายได้มากขึ้น ปริมาณยาที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจึงลดลงตามไปด้วย จนอาจทำให้ไม่ได้ผลการรักษาที่ดีค่ะ ดังนั้นคำแนะนำในการรับประทานยา Erythromycin จึงแนะนำให้รับประทานก่อนอาหาร 15-30 นาที ค่ะ ในขณะที่ยา Roxithromycin ได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการทนกรดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารอาจส่งผลรบกวนต่อการดูดซึมยาได้ประมาณ 20 % ดังนั้น คำแนะนำแรกของการรับประทาน Roxithromycin คือ 150 mg วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารค่ะ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากการรับประทานยา Roxithromycin โดยเฉพาะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจแนะนำให้ปรับการรับประทานยาเป็นหลังอาหารได้ค่ะ

อ้างอิงจาก:
1. Roxithromycin In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Aug17. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Aug17].
2. Erythromycin. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Aug17. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Aug17].
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ผื่นยุบ หายแดง ลดความแรงของยาทาหน้าด้วยการใช้ Betamethasone valerate

---------------------- ครั้งที่ 2 ------------------------

ยากิน
- ยาแก้อักเสบติดเชื้อ Roxitop (Roxithromycin) ชนิดเม็ด 300 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า (5 วัน)
- ยาสเตียรอยด์ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ชนิดเม็ด 5 mg ครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหาร เช้า (10 วัน)
- ยาแก้แพ้แก้คัน เซทิไรซีน (Cetirizine) ชนิดเม็ด 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน (10 วัน)

ยาทาหน้า สูตรผสม ทาตอนเช้าและก่อนนอน (14 วัน)
- Valerbet (Betamethasone valerate) 0.1% 5g
- Taraten (Clotrimazole) 1% 5g

ยาทาตัว สูตรผสม ทาตอนเช้าและก่อนนอน (14 วัน)
- Clobetate (Clobetasol Propionate) 0.05% 15g
- Diabederm (Urea) 10% 35g

------------ นัดอีก 14 วัน ให้มาพบหมอ -------------
61.png 62.png 63.png 64.png 65.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

อาทิตย์แรกอาการดีมาก หายสนิท ไม่คันใดๆเลย แต่พอท้ายๆอาทิตย์ที่สอง เริ่มแดงๆ และมีสิวสเตียรอยด์ขึ้นที่คอและหน้าอก เลยต้องมารักษาสิวสเตียรอยด์อีก
166.png ---------------------- ครั้งที่ 3 ------------------------

ยากิน
- ยาสเตียรอยด์ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ชนิดเม็ด 5 mg ครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหาร เช้า (10 วัน)
- ยาแก้แพ้แก้คัน เซทิไรซีน (Cetirizine) ชนิดเม็ด 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน (20 วัน)
- Acnotin ชนิดเม็ด 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า ทุกวัน (10 วัน)
- Acnotin ชนิดเม็ด 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า วันเว้นวัน (10 เม็ด)

ยาทาหน้า สูตรผสม ทาก่อนนอน (14 วัน)
- Dermatop (Prednicarbate) 0.25% 5g
- Zalain (Sertaconazole) 2% 5g

ยาทาตัว สูตรผสม ทาเฉพาะตอนที่คัน (ของเก่าที่เหลือเยอะมาก)
- Clobetate (Clobetasol Propionate) 0.05% 15g
- Diabederm (Urea) 10% 35g

ยาทาสิวสเตียรอยด์
- Faclinda Solution (Clindamycin) 1% 15 ml ทาเช้าและเย็น (2 ขวด)

------------ นัดอีก 14 วัน ให้มาพบหมอ -------------
71.png 72.png 73.png 74.png 75.png 76.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

30 ต.ค. 2557 ตัดสินใจงดยาสเตียรอยด์ทั้งหมด อดทน แล้วใช้วิธีธรรมชาติบำบัด
  1. ใช้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ (Normal saline) เช็ดหน้าและประคบ เทใส่สำลีหรือกระดาษทิชชู่ก็ได้แล้วแปะบนผื่นให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
  2. ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาบน้ำด้วยน้ำเปล่า ใช้แชมพูรีจอยส์สูตรขจัดรังแค
  3. เมื่อผิวแห้งตึงแสบๆ ทาด้วยหรือน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และไม่ควรถูกแสงแดดเพราะจะทำให้ผิวคล้ำ
  4. เมื่อผิวแห้งตึงแต่ไม่แสบ ทาด้วย Nivea Intensive PH Balance Lotion ซึมซาบเร็ว ไม่เหนียว ซื้อขวดใหญ่ไปเลย 600 มล. ที่เดอะมอลมักจะมีโปร 1 แถม 1 ตลอดทั้งปีและรุ่นนี้ถูกสุด 224 บาท ไม่จำเป็นต้องมียากันแดดและวิตามิน
  5. ผื่นตามข้อพับหรือที่เสียดสีมาก ใช้ Cadramine-V ทาจะเย็นๆ และมี Diphenhydramine แก้แพ้ด้วย
  6. สำหรับแผลน้ำเหลือง เมื่อประคบเช็คด้วยน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์แล้วทาด้วยเจลว่านหางจระเข้แบบไม่มีแอลกอฮอล์
  7. งดกินน้ำตาล น้ำหวาน ของหวานทุกชนิด กินเฉพาะผลไม้
  8. งดกินแป้ง คาร์โบไฮเดรตทุกชนิด งดกินเบเกอรี่
  9. งดกินข้าวสีขาว กินข้าวกล้องข้าวไรซ์เบอรี่แทน เนื่องจากมีสารที่ทำให้ระดับน้ำตาลไม่ขึ้น แนะนำยี่ห้อหงษ์ทอง ให้ซื้อตอนลดราคามาเก็บไว้ แพค 1 กิโลกรัม 102 บาท
  10. งดกินผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด ยกเว้นโยเกิร์ตธรรมชาติ
  11. งดกินเนย น้ำมันพืชทุกชนิด ให้ใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารแทน
  12. งดกินอาหารสำเร็จรูปที่ผ่านขบวนการแปรรูปมาแล้ว เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ให้กินอาหารแบบ raw food เท่านั้น
  13. งดกินสัตว์น้ำที่มีเปือกแข็ง เช่น กุ้ง หอย ปู ยกเว้นปลาชนิดมีเกล็ด
  14. กลั้วปากก่อนอาหารเช้า (Oil Pulling) ด้วยน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนทิ้งห้ามกิน น้ำมันมะพร้าวจะจับกับไขมันของเชื้อโรคและดูดสารพิษต่างๆออกมา
  15. กินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หลังมื้อเช้า 3 ช้อนโต๊ะ มีฤิทธิ์ฆ่าเชื้อราในลำไส้
  16. กินผลไม้สดให้มากๆ เพิ่มกากใยและเอนไซม์ โดยเฉพาะแกนสับปะรดและมะละกอดิบ
  17. กินโยเกิร์ตธรรมชาติ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ แนะนำยี่ห้อบัลแกเรีย 4 ถ้วย 78 บาท
  18. กินดีน่างาดำ สูตรน้ำตาลน้อย
  19. กินสมุนไพรเหงือกปลาหมอ แก้คัน ผิวอักเสบ แนะนำยี่ห้ออ้วยอัน 100 แคปซูล 110 บาท
  20. กินสมุนไพรยาประดงของกรุงเทพทิพโอสถ แก้น้ำเหลืองเสีย 100 แคปซูล กล่องละ 850 บาท
  21. กินยาแก้แพ้ ตัวยา Cetirizine ก่อนนอน 1 เม็ด ยี่ห้ออะไรก็ได้ เช่น Zyrtec, Cetrizin หรือ Setin จำเป็นต้องกินทุกคืนเพราะคันมาก
83.png 85 Alogel.png 81.png 086 NIVEA INTENSIVE PH BALANCE LOTION.png 096 DNA.png 088 Bulgaria.png 089 RiceBerry.png 090 Cadramine-V.png 087 Sea Holly.png 080 Pradong.png 082 Cetirizine.png 003 rejoice.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

วิตามีน ซี จะช่วยในการดูดซึมสารอาหารและช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคต่างๆ ครอบจักรวาลอีกเช่นกัน ของ Blackmores จะมี 2 ชนิดคือ

1. BIO C 1000mg ออกฤทธิ์ทีเดียว ตูม ถ้าดูดซึมไม่หมด ก็จะขับออกทางปัสสาวะ จึงไม่ควรกินตอนกลางคืน ไตจะพังเพราะไม่ได้ฉี่ออกมา ขนาดขวด 62 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 400 บาท

2. Bufferd C 500mg ค่อยๆออกฤทธิ์ตลอด 8 ชม. จึงใช้ปริมาณแค่ 500mg เท่านั้น ราคาต่อเม็ดถูกกว่า ขนาดขวด 75 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 350 บาท

จากการทดลองในห้องแล๊ปเขาบอกว่าได้ผลไม่แตกต่างกัน โดยทั้ง 2 ชนิดให้ทานหลังอาหารเช้า วันละ 1 เม็ด
19 BIO C Blackmores.png 18 Buffered C Blackmores.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

จากการทานน้ำมันอีพนิ่งพริมโรส (Evening Primrose Oil) แล้วได้ผลจริงๆก็เลยเกิดศรัทธากับอาหารเสริม ค้นคว้าอ่านไปเรื่อยๆพบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) มีคุณค่ามากมายครอบจักรวาล

จากการค้นคว้าพบว่ายี่ห้อ Vistra ถูกที่สุด มีปริมาณ Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC) เขียนสั้นๆว่า สารโปรไซยานิดิน 57mg ต่อเม็ด ขนาดขวด 30 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 220 บาท
17.png ทานวันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า คนที่ต้องการเน้นบรรเทาเส้นเลือดขอดให้ทานวันละ 2 เม็ด

พวกอาหารเสริมควรจะทานคู่กับวิตามีนซี เพื่อช่วยในการดูดซึมและเสริมภูมิต้านทานโรคต่างๆ เราลองเปลี่ยนวิตามีนซีจาก Blackmore มาเป็น Vistra Acerola Cherry 1000mg ขนาดขวด 60 เม็ด ราคาไม่ควรเกิน 310 บาท ซึ่งใน 1 เม็ดประกอบไปด้วย

อะเซโรลา เซอร์รี่ สกัด 1000 มก.
ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยส์ 80 มก.
สารสกัดจากทับทิม 60 มก.
สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 40 มก.
เบต้าแคโรทีน 10% 30 มก.
ไลโคพีน 10% 30 มก.
16 Vistra Grape Seed 60mg.png 95 Vistra Acerola Cherry.png
tong
Site Admin
Posts: 2386
Joined: Fri 01 May 2009 8:55 pm

Re: ประสบการณ์การรักษา เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

Post by tong »

31 ม.ค. 2558

อาการดีขึ้นเรื่อยๆ ตามใบหน้าผื่นยุบหมด แต่หน้าผากยังมีคันๆบ้าง ช่วงนี้ได้หาจินเจน ขิง 100% ไม่ผสมน้ำตาล สูตร 4 มาทานเพิ่ม เพื่อให้ธาตุร้อน
121 Gingen.png
Post Reply