พระเจ้าตากสิน กับ รัชกาลที่ 1 เป็นอะไรกัน

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

พระเจ้าตากสิน กับ รัชกาลที่ 1 เป็นอะไรกัน

Post by Nadda »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ด้วง
ประสูติเมื่อวันพุธที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙
เมื่อเด็กชายด้วง มีอายุครบ ๑๓ ปี บิดามารดาได้ทำพิธีตัดจุกให้
จากนั้นจึงได้ถวายตัว ให้เป็นมหาดเล็กของ เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต
รัชทายาทแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์

กระทั่ง นายด้วงมีอายุครบ ๒๒ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมหาทลาย
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๐๐

ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ พระภิกษุด้วงได้มีโอกาสรู้จักเป็นมิตรกับพระภิกษุสินคือพระเจ้าตากสินขณะนั้น

ต่อมาเมื่อลาสิกขาบทแล้ว นายหยงและนายด้วงก็ได้มีโอกาสเข้ารับราชการ ต่อมาในตอน
ปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา โดยนายหยงได้เป็นตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก
และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"นายสิน" ส่วนนายด้วงก็รับราชการด้วยดีจนได้เป็น
หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี

ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียทีถูกพม่ายึด หลวงยกกระบัตรเมืองตากซึ่ง ตอนนั้นได้
้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้ทำการรวบรวมผู้คน
ซึ่งแตกกระจายกัน เป็นก๊กเป็นเหล่าต่างๆ มากมายแล้วพากันมาตั่งมั่นอยู่ที่จันทบุรี
เพื่อคอยหาโอกาสกอบกู้เอกราช ของชาติไทยกลับคืนมา

และเมื่อรวบรวมกำลังพลได้พอสมควรแล้ว พระยาวชิรปราการ หรือพระยาตากจึงได้
ยกกองทัพโดยทางเรือจากจันทบุรีมายังกรุงธนบุรี และสามารถยึดกรุงธนบุรี ีกลับคืนมาได้
จากนั้นจึงเคลื่อนทัพขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา แล้วเข้าตีพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นแตก
จึงเป็นอันกอบกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๑๐

และทรงประกาศตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงใหม่ของไทย พร้อมกับประกอบพระราชพิธี
ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ ๔ ขึ้น
เมื่อวันพุธที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑ แต่ประชาชนทั่วไปมักเรียกพระองค์ว่า
สมเด็จพระเจ้าตากสิน บ้างก็เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว
ได้ทรงปูนบำเหน็จให้แก่บรรดาแม่ทัพนายกอง และ ผู้ร่วมกอบกู้ชาติจนได้รับเอกราชในครั้งนี้
อย่างถ้วนหน้าซึ่งก็รวมไปถึงหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี เพื่อนเก่าที่ชอบพอ และ ร่วมเป็นร่วมตาย
ในการศึกนี้ด้วย โดยโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจ
ขวานอก

แล้วให้เข้ามารับราชการใกล้ชิด พระราชวรินทร์ได้รับราชการสนองพระบรมราชโองการ
สมเด็จพระเจ้าตากสินด้วยความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีเป็นที่ยิ่ง จนได้รับอาญาสิทธิ์
และเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้นหลังจากที่ได้ออกไปในการศึกสงคราม ตามลำดับดังนี้

พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจ, พระยายมราช ว่าที่สมุหนายก, เจ้าพระยาจักรี
และเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ตามลำดับ
Post Reply