เกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)

Post Reply
Nadda
Posts: 258
Joined: Tue 05 May 2009 8:20 pm

เกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)

Post by Nadda »

Hypokalemia คือ ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท้องผูก อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก

ภาวะนี้อาจเกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก ท้องเสียหลายครั้ง ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายมากเกินไป ทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป

โพแทสเซียม คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่มีส่วนในการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ แ

ระดับปกติของปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ที่ 3.6-5.2 มิลลิโมล/ลิตร ส่วนผู้ป่วย Hypokalemia จะมีระดับโพแทสเซียมต่ำกว่า 3.5 มิลลิโมล/ลิตร

วิธีรักษา Hypokalemia คือ ลดการเสียโพแทสเซียม เสริมโพแทสเซียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม และหาสาเหตุของการป่วย เพื่อรักษาและป้องกันอาการป่วยได้อย่างถูกจุด ซึ่งการรักษาอาจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ด้วย หากอาการไม่รุนแรงมาก อาจรักษาได้โดยใช้โพแทสเซียมชนิดรับประทาน หรือบริโภคอาหารเสริมโพแทสเซียม

ชนิดของเกลือโพแทสเซียมที่ให้เข้าสู่ร่างกาย
1. ในรูปยาฉีด (intravenous infusion) ที่นิยมใช้คือ
- โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) 1 มล. จะมีปริมาณโพแทสเซียม 2 มิลลิโมล.
- โพแทสเซียมฟอสเฟต (K2HPO4) 1 มล. จะมีปริมาณโพแทสเซียม 1 มิลลิโมล และมี PO4 0.5 mEq. มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยขาดเกลือฟอสเฟตร่วมด้วย.

สำหรับเกลือโพแทสเซียมชนิดฉีดเข้าหลอด เลือดดำที่ใช้ในประเทศไทยคือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl).

2. ในรูปยากิน
2.1 Elixir KCl 10 มล. จะมีปริมาณโพแทสเซียม 17 มิลลิโมล หรือ 1 มล. มี 1.7 มิลลิโมล ไม่ควรให้ใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl ) ชนิดเม็ด เพราะยาถูกดูดซึมได้ไม่แน่นอนและยังทำให้เป็นแผลพังผืดในลำไส้จนเกิดภาวะลำไส้อุดตันต่อมาได้.

2.2 โพแทสเซียมซิเตรต (potassium citrate) มักใช้ในรายที่มีภาวะเลือดมีความเป็นกรดร่วมด้วย สำหรับM. Pot. Cit. 15 มล. จะมีโพแทสเซียม 9 มิลลิโมล. ส่วน Modified Shoh' s solution 1 มล. จะมีโพแทสเซียม 1 มิลลิโมล และไบคาร์บอเนต 2 มิลลิโมล.
Post Reply