Page 1 of 1

โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Thu 17 Oct 2019 11:59 am
by tong
พื้นฐานทางจิต

ฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Ego) จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์ประกอบที่มีส่วนในพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ฟรอยด์ได้กล่าวไว้ มีดังนี้

1. วุฒิภาวะ หมายถึง ขั้นพัฒนาการตามวัย

2. ความคับข้องใจ ที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวังเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน

4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย เชาว์ปัญญา การขาดประสบการณ์

5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัวหรือความไม่กล้าของตน

ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก โดยฟรอยด์และบุตรสาว (แอนนา ฟรอยด์) ได้แบ่งประเภทกลไกการป้องกันตัว ได้แก่

1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจหรือความรู้สึกผิดหวัง

2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล ด้วยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น

3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง อธิบายให้คนอื่นยอมรับ

4. การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุขสบายใจ comfort zone

5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่คิดว่าสังคมอาจจะไม่ยอมรับ

6. การสร้างวิมานในอากาศหรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) เป็นการสร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้

7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง

8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธหรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ

9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง

Re: โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Thu 17 Oct 2019 11:59 am
by tong
โรคจำแบบกูเกิ้ล (จำเฉพาะ index)

ในรายงานการศึกษาเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ Google Effects on Memory: Cognitive Consequences of Having Information at Our Fingertips (ผลกระทบจาก Google ที่มีต่อความจำ : ผลลัพธ์จากกระบวนการคิด ของการได้รับข้อมูลผ่านปลายนิ้ว) ที่เก็บข้อมูลจากนักศึกษา พบว่าพวกเขาไม่สามารถจำข้อมูลต่างๆ ในอดีตได้ เพราะพวกเขามั่นใจว่าเป็นข้อมูลที่สามารถค้นหาได้ผ่าน Google

Christopher Winter นักประสาทวิทยาที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การที่สมองของเรารับรู้ว่า “ไม่ต้องจำข้อมูลเหล่านี้” เพราะสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายๆ ทำให้สมองของเราไม่มีการเตรียมรับข้อมูลใดๆ เพิ่ม ไม่เตรียมให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็น long-term memory หรือความจำระยะยาว และอาจลดขนาดของการรับข้อมูลให้กลายเป็นความจำด้วย (memory capacity)

Re: โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Thu 17 Oct 2019 12:00 pm
by tong
โรครู้ดีไปหมด (Mansplaining)

Mansplaining เป็นคำนามและเป็นศัพท์ไม่เป็นทางการ ผสมคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ จากคำว่า Man (ผู้ชาย) และคำว่า Explain (อธิบาย) ไว้ด้วยกัน

คำดังกล่าวเกิดขึ้นราวปี 2008 ใช้เพื่ออธิบายลักษณะของผู้ชายที่หยิ่งทะนงตัว มั่นใจตนเองมากเกินไป ดูมีความรู้ รู้ดีไปหมดทุกเรื่อง โดยเฉพาะต่อหน้าผู้หญิง ทั้งๆที่ความจริงแล้วสิ่งที่รู้นั้นไม่ถูกต้อง หรืออาจรู้ไม่ดีพอ

นักเขียนอย่าง Rebecca Solnit ได้ให้นิยามคำนี้ไว้ว่า "Manspaining ไม่ได้หมายถึงข้อบกพร่องทางเพศสภาพ แต่เป็นการอธิบายถึงความเชื่อมั่น และความไร้เหตุผลของบุคคลหนึ่ง"

ในขณะที่ Lily Rothman นักเขียนอีกคนก็อธิบายเพิ่มเติมว่า "มันเป็นคำที่ใช้อธิบายคนที่ไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง ว่าผู้ฟังอาจมีความรู้มากกว่า และบ่อยครั้งมันเกิดขึ้นจากการที่ผู้ชายอธิบายให้ผู้หญิงฟัง"

ในปี 2010 คำนี้ยังถูกรับเลือกจากนิตสาร New York Times ให้เป็นหนึ่งในคำแห่งปีอีกด้วย

เรียบเรียงโดย #เหมียวเมษา
https://www.nytimes.com/2010/12/19/weekinreview/19sifton.html
https://www.latimes.com/archives/la-xpm-2008-apr-13-op-solnit13-story.html
https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/mansplain

Re: โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Thu 17 Oct 2019 12:00 pm
by tong
โรคจำแบบกูเกิ้ล

Re: โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Thu 17 Oct 2019 12:00 pm
by tong
โอเมก้าซินโดรม และอัลฟ่าปลอมซินโดรม

ในสัตว์สังคมเราจะเรียกสถานะตามลำดับว่า อัลฟ่า เบต้า แกมม่า โอเมก้า

พวกโอเมก้าคือพวกนอกสายตา พวกนี้เวลาเจออัลฟ่า มักจะชอบโม้ข้อมูลต่างๆเพื่อยกสถานะตัวเองในการเข้าสังคม ภาษาบ้านๆจะเรียกว่า พวกเชลียร์

จากนั้นเวลาอัลฟ่าเจอกันเองก็แค่เอาข้อมูลมากระจายต่อ หรือหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น อัลฟ่าพวกนี้ไม่ได้เก่งจริง วิเคราะห์ข้อมูลอะไรไม่ได้ ถนัดแต่เรื่องสร้างภาพ เราจะเรียกพวกนี้ว่าอัลฟ่าปลอม หรือพวกสร้างภาพนั่นเอง

ทั้งสองโรคนี้มักจะเกิดขึ้นพร้อมกันในคนๆนั้น และเป็นกันมากในสังคมไทย เพราะทำได้ง่ายสุด

Re: โรคทางจิตสมัยใหม่

Posted: Fri 08 Nov 2019 10:27 pm
by tong
5 พฤติกรรม ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นมนุษย์โซเชียล “เลเวล 1”

หมายถึงผู้ที่เพิ่งหัดเล่น หรือผู้ที่มีวุฒิภาวะทางความคิดต่ำ

1. ของขึ้นง่าย ต้องระบายทันที หัวร้อนแทนผู้เสียหายในข่าว และพิมพ์ด่าลงไปด้วยถ้วยคำที่กลั่นกรองจากสมองของตัวเองมาแล้ว ด่าแบบชนิดที่ว่าเทหมดหน้าตัก หลังจากด่าตรงนี้เสร็จก็สะบัดตูดไปเสพข่าวอื่นต่ออย่างสบายใจ

2. แชร์รัวๆ ไม่สนสี่สนแปดใดๆ เมื่อได้อ่านอะไรสักอย่างก็มักจะเชื่อหมดใจว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องจริง ต้องรีบแชร์ให้คนอื่นรู้ทันที โดยไม่สนใจ ค.ว.ย (คิด วิเคราะห์ แยะแยะ) อะไรเลย

3. ขออโหสิกรรมที่เข้ามาดู ก๊อบคำจากคอมเม้นคนก่อนหน้ามาโพส โดยที่ไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร เมื่อได้ทำแล้วมันสบายใจอย่างไม่มีสาเหตุ มนุษย์เลเวล 1 ชนิดนี้มักจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับใคร

4. อวตาร ด่ากราด มีปมในใจต้องการระบายออกมา หรือต้องการแสดงความเห็นในเชิงลบมากๆ จึงไปสมัครไอดีโซเชียลใหม่ เพื่อเอาไว้เแสดงตัวตนด้านลบของตัวเองออกมาโดยเฉพาะ

5. โลกสวย มองโลกในแง่ดีเกินไปแบบผิดที่ผิดเวลา มักจะสวนกระแสกับความคิดเห็นของคนหมู่มาก ถ้าหากไปอยู่รวมกับพวกหัวร้อน ในข้อ 1 แน่นอนว่าไม่พ้นการก่อดราม่าลุกลามใหญ่โต